วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Cacao


Cacao




Cacao (Theobroma cacao) (Mayan: kakaw, Nahuatl: Cacahuatl), or the cocoa plant, is a small (4–8 m or 15–26 ft tall) evergreen tree in the family Sterculiaceae (alternatively Malvaceae), native to the deep tropical region of the Americas. There are two prominent competing hypotheses about the origins of the original wild Theobroma cacao tree. One is that wild examples were originally distributed from southeastern Mexico to the Amazon basin, with domestication taking place both in the Lacandon area of Mexico and in lowland South America. But recent studies of Theobroma cacao genetics seem to show that the plant originated in the Amazon and was distributed by humans throughout Central America and Mesoamerica. Its seeds are used to make cocoa and chocolate.
The tree is today found growing wild in the low foothills of the
Andes at elevations of around 200–400 m (650-1300 ft) in the Amazon and Orinoco river basins. It requires a humid climate with regular rainfall and good soil. It is an understory tree, growing best with some overhead shade. The leaves are alternate, entire, unlobed, 10–40 cm (4-16 in) long and 5–20 cm (2-8 in) broad.

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

วันรพี

วันรพี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

พระองค์ทรงสมภพเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2417 เป็นพระราชโอรสองค์ที่14 ในพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) กับ เจ้าจอมมารดาตลับ

การศึกษาและหน้าที่การงาน

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกที่สำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อยอาจารยางกูร) จากนั้นทรงศึกษาภาษาอังกฤษขึ้นต้นในสำนักครูรามสามิแล้วไปศึกษาภาษาไทยต่อที่สำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่นเปรียญ) และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบโดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นอาจารย์ผู้สอน ต่อมาในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๒๗ เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๑๐ ชันษา ทรงเข้าพิธีโสกันต์ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธออีก ๓ พระองค์ คือ พระองค์เจ้ากิตติยากรวรลักษณ์กรมพระจันทบุรีนฤนาท พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดมกรมหลวงปราจิณกิติบดีและพระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดชกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ในปีถัดมาทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยในระหว่างที่ทรงผนวชแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง ๒๒ วัน แต่ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่เหนือกว่าบุคคลทั่วไปเมื่อทรงจำพระวินัยสงฆ์ได้อย่างแม่นยำชนิดพระสงฆ์ที่บวชเรียนมาแล้วหลายพรรษา ก็ยังไม่สามารถท่องจำวินัยสงฆ์ได้แม่นยำเช่นพระองค์ท่าน หลังจากที่ทรงลาผนวชแล้ว เสด็จไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมัธยมกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๓ ปีเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้วทรงสอบเรียนต่อกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ ๑๔ ชันษา แต่ทางมหาวิทยาลัยไม่ยอมให้ทรงเข้าศึกษาต่อ เนื่องจากติดข้อบังคับที่ว่าอายุไม่ถึง ๑๘ ปีแต่ก็มิได้ย่อท้อ เสด็จไปขอร้องเป็นกรณีพิเศษต่อทางมหาวิทยาลัยว่า "คนไทยเกิดง่ายตายเร็ว" จนทางมหาวิทยาลัยยินยอมให้สอบอีกครั้ง ซึ่งก็ทรงสอบได้และได้ศึกษาต่อจนจบหลักสูตรปริญญาตรีด้านกฎหมายชั้นเกียรตินิยม โดยใช้เวลาศึกษาเพียงแค่ ๓ ปี จากปกติที่ต้องใช้เวลาเรียนถึง ๔ ปี นับเป็นบัณฑิตที่มีอายุน้อยที่สุดด้วยพระชนม์แค่ ๑๗ ชันษาจากนั้นเมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยทรงเข้ารับราชการที่กรมราชเลขานุการ ได้ใช้พระปรีชาสามารถ พระสติปัญญาและพระวิริยะอุตสาหะในการทำงานเป็นอย่างมาก ในไม่ช้าก็ทรงสามารถทำงานได้ทุกตำแหน่งในกรม จนเป็นที่ยกย่องของข้าราชการในกรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นเลิศในการร่างพระราชหัตถเลขาได้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งนัก ถึงขนาดที่ทรงเรียกพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ว่า "เฉลียวฉลาดรพี" พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ในขณะเดียวกันทรงมีตำแหน่งเป็นสภานายกพิเศษจัดตั้งศาลมณฑลและศาลเมือง (ศาลจังหวัด) ขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ โดยทรงจัดตั้งศาลหัวเมืองในมณฑลอยุธยาขึ้นเป็นแห่งแรกแม้ในช่วงนั้นจะมีคดีความในศาลคั่งค้างอยู่มาก แต่ก็ทรงตัดชำระความด้วยพระองค์เองจนเสร็จสิ้นภายในเวลาอันรวดเร็วได้อย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม จนเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทุกคน


รับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม

จากนั้นพระองค์ก็ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่มีพระชนม์มายุเพียง 22 ชันษาเท่านั้น พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบศาล และงานยุติธรรมของประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าเท่าทันต่างประเทศ นับว่าพระองค์ทรงเป็นเสนาบดีที่ทรงมีพระชนมายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย
ใน พ.ศ. 2440 พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยยืมสถานที่ของกระทรวงยุติธรรมเป็นสถานที่สอน ในการดำเนินการสอนของพระองค์ท่านได้ประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายนัก พระองค์จึงทรงต้องคัดเลือกและสอนนักเรียนเองทุกวิชา แต่พระองค์ก็ไม่เคยย่อท้อแม้แต่น้อย จนกระทั่งปลาย พ.ศ. 2440 จึงเปิดให้สอบไล่ในระดับชั้นเนติบัณฑิตเป็นครั้งแรก เพื่อให้เนติบัณฑิตเหล่านี้ได้นำสิ่งที่เรียนมาไปแบ่งเบาภาระของพระองค์


กรมการร่างกฎหมาย
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองไทยเป็นที่รู้กันว่าชาวต่างพวกนี้มีอำนาจอิทธิพลมาก เวลาเกิดคดีความ ข้อโต้แย้งขึ้นมาก คนไทยมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็นข้ออ้างเอาเปรียบคนไทยซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆในเวลานั้น พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษาชากฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้นศาลไทยในส่วนการแก้ไขตัวบทกฎหมายนั้น ได้ทรงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการ ตลอดจนจัดระเบียบกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานานจนล้าสมัย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาและเข้าใจตัวกฎหมายได้ง่ายขึ้น และเพื่อสะดวกต่อการพิจารณาคดีทั้งปวง คณะกรรมการชุดที่ว่านี้ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ โดยทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการเองการยกเครื่องกฎหมายในครั้งนั้นกล่าวได้ว่า ทรงเป็นหัวเรือใหญ่ในการร่างกฎหมายอย่างแท้จริง จนประสบความสำเร็จเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก ซึ่งต่อมาเมื่อมีการประกาศการใช้กฎหมายแล้ว ยังได้ทรงเขียนอธิบายตัวบทกฎหมายให้มีความเข้าใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อสะดวกต่อการศึกษา และให้เกิดการตีความตรงกับเจตนารมณ์ของผู้ร่างอันถือเป็นรากฐานสำคัญของการก่อตั้งวิชานิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในปัจจุบันต่อมาคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ตรากฎหมายขึ้นมาใช้อีกหลายฉบับจนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นกรมร่างกฎหมายและพัฒนากลายมาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในทุกวันนี้ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการในศาลกรรมการฎีกาหรือศาลฎีกาในปัจจุบัน มีหน้าที่คอยตรวจตัดสินความฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุดของประเทศ "ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ" จะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งเสนาบดี ๑๔ ปีได้ทรงปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มพระกำลังสามารถและมีพระวิริยะอุตสาหะในการทำงานมาโดยตลอด โดยไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคและความเหน็ดเหนื่อย


สิ้นพระชนม์
ในวันที่ 7 ส.ค.2463 พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ ซึ่งในวงการนักกฎหมายได้ถือเอาวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยใช้ชื่อว่า วันรพี

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9


พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9







สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ บิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ที่ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเชษฐาและพระกนิษฐภคินี รวม 3 องค์คือ
1. หม่อมราชวงศ์ กัลยาณกิติ์ กิติยากร
2. หม่อมราชวงศ์ อดุลยกิติ์ กิติยากร
3. หม่อมราชวงศ์ บุษบา กิติยากร












หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เติบโตขึ้นมาในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงทำให้ต้องอยู่ไกลจาก พระบิดามารดาในตอนแรก โดยได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประทับ ที่จังหวัดสงขลา ในปี 2476
ต่อมา เมื่อหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ มีอายุได้ 5 ขวบ ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรก ในชั้นอนุบาลที่โรงเรียน ราชินี เมื่อปี 2480 และเมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้แผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ถูกโจมตีทางอากาศบ่อยครั้ง ทำให้การคมนาคม ขาดความสะดวกและปลอดภัยหม่อมเจ้านักขัตรมงคล จึงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ ในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา เพราะอยู่ใกล้บ้าน และที่นี่หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ ได้เริ่มเรียนเปียโน ซึ่งสามารถเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจาก ความสามารถทางด้าน ภาษาต่างประเทศคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สงบลง รัฐบาลไทยซึ่งขณะนั้นมี พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทูลขอให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสำนักเซ็นต์เยมส์ ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2489 โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส กับครูพิเศษ ควบไป กับการเรียนเปียโน ต่อมาไม่นานนัก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ประจำประเทศเดนมาร์กและต่อไปที่ประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงเรียนเปียโนเพื่อหาโอกาส เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรี ที่มีชื่อของกรุงปารีส และที่ประเทศฝรั่งเศสนี้เองที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วและ เสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์) ซึ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จาก สวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์ แทนคันเดิมที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลานาน และการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงอยู่บ่อยครั้ง และในระหว่าง ที่เสด็จฯ มายังกรุงปารีส ก็จะทรง ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่น
และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เองก็สนใจและรอบรู้เข้าใจ ในศิลปะการดนตรีเป็นอย่างดี ทำให้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย จนกลายเป็น ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในที่สุด
ในปี 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และทรงเข้ารับ การรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล โดยมีหม่อมหลวงบัว และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สวิสเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนี ได้ทรงรับเป็นธุระ จัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาใน Pensionnat Rinate Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ของโลซานน์ จนเมื่อหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจาก อาการประชวรแล้ว ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492
ภายหลังจากพิธีหมั้นผ่านไป หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงศึกษาอยู่ต่อจนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เสด็จฯนิวัติพระนคร จึงทรงโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จ พระราชดำเนินกลับมาด้วย เพื่อร่วม ในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม 2493
ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกันนั้น ทรงโปรดให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ ครั้นเมื่อ มีพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงรักษาพระองค์ และทรงศึกษาต่อ และได้เสด็จฯ กลับมาประทับที่ประเทศไทยในปี 2495
ในปี 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกบรรพชาตามโบราณราชประเพณีเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน ในระหว่างที่ผนวชอยู่นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้เฉลิมพระอภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ 5 ธันวาคมศกนั้น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม 4 พระองค์คือ
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาล มองซัวซี นครโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจาก ฐานันดรศักดิ์ เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูล กิตติสิริสมบูรณ์ สว่างควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมาในปี 2515 ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมุฏราชกุมาร
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่ง นับตั้งแต่วันที่ทรงเข้าสู่พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเป็นต้นมา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น ในฐานะภรรยา ด้วยการถวายความจงรักภักดี เอาพระทัยใส่ ถวายการปรนนิบัติต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจน ทรงเป็นกำลังพระราชหฤทัย ให้พระราชสวามี เสมอตลอดมา หรือ ในฐานะแม่ ก็ทรงอบรม เลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยความเอาพระทัยใส่ยิ่ง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ในฐานะพระบรมราชินีของประชาชนชาวไทยโดยในระยะแรกมักจะเป็นการ ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปในการพระราชพิธีต่างๆ รวมทั้งได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามที่ทรงได้รับการแต่งตั้งในระหว่างที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชได้เป็นอย่างดี สมกับที่ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะโดยเสด็จฯ เคียงข้างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทยไม่ว่าจะเป็นในด้านการ ศึกษา การศาสนา การรักษาไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรมของชาติ หรือการสร้างและรักษาสัมพันธภาพ กับนานาประเทศ
นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชดำริ และพระราโชบายสอดคล้องต้องกันกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะยกระดับฐานะ ความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น โดยในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มก่อตั้งโครงการหลวง ต่าง ๆ ขึ้น สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ก็ทรงริเริ่มโครงการ ให้ราษฎร โดยเฉพาะสตรีชาวนา ในท้องที่ชนบททำอาชีพเสริม โดยการใช้เวลาว่างจากการทำนาทำไร่ มาทำหัตถกรรมในครัวเรือนด้วยการนำเอาวัสดุที่หาง่าย และมีอยู่แล้วในท้องถิ่นนั้น มาประดิษฐ์เป็น สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งโครงการอาชีพเสริมนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับราษฎรแล้ว ยังเป็นการรักษา งานศิลปะหัตถกรรมของไทย ให้คงอยู่กับชาติไทยต่อไป
ต่อมาเมื่อโครงการมีผลงานปรากฏออกมากว้างขวางมากขึ้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง เป็นรูปของมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2519
ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อของมูลนิธิ เป็น มูลนิธิศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี 2528 โครงการมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษฯ นี้แบ่งการช่วยเหลือราษฎรออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. การส่งเสริมสนับสนุนงานฝีมือที่ชาวบ้านทำเป็นอยู่แล้วในหมู่บ้าน เช่น การทอผ้าไหมมัดหมี่ การทำกระเป๋าย่านลิเพา การทอเสื่อกระจูด เป็นต้น
2. การฝึกอบรมให้ชาวบ้านทำงานฝีมือที่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน เช่น การปั้นตุ๊กตาชาววัง การทำดอกไม้ ประดิษฐ์ การทอผ้าฝ้าย การเป่าแก้ว การทำเครื่องถมทองและการจักสาน และอื่น ๆ
ทั้งนี้ ได้ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นกองทุนเริ่มต้นสำหรับ จัดหาผู้เชี่ยวชาญไปช่วยทำการฝึกสอนให้กับราษฎร พร้อมกับวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ทรงเสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียน และติดตามความก้าวหน้า พร้อมกับพระราชทานคำแนะนำ และกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการ ในโครงการฯ อยู่เสมอมิได้ขาด กับทรงเอาเป็นพระราชธุระในการจัดหาตลาดสำหรับจำหน่ายสินค้า เหล่านี้อีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงเป็นแบบอย่างในการส่งเสริม และรักษางานศิลปะหัตถกรรมของไทย ให้แพร่หลาย ทั้งในหมู่คนไทย และชาวต่างชาติ โดยจะทรงฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บด้วยผ้าพื้นเมืองของ ไทย เช่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าปักชาวเขา ฯ และทรงใช้กระเป๋าถือ ที่ทำมาจากย่านลิเพา เป็นต้น
นอกเหนือไปจากงานศิลปาชีพพิเศษแล้ว ในด้านการสาธารณสุข สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ผู้ทรงดำรงตำแหน่ง องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ก็มักจะพระราชทานพระราชดำริในการจัดหาเงินรายได้บำรุงสภา กาชาดไทยเป็นประจำทุกปี และจะทรงเสด็จฯ ไปในการพระราชทานเข็มที่ระลึก แก่ผู้บริจาคโลหิตครบ ตามที่สภากาชาดกำหนดอย่างสม่ำเสมอ (ในระยะหลัง ๆ นี้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จฯ แทนพระองค์ เนื่องจากทรงมี ปัญหาทางด้านพระพลานามัย)และถ้าหากเสด็จฯเยือนต่างประเทศ ก็จะทรงถือโอกาส เสด็จฯ ทอดพระเนตร กิจการกาชาดของประเทศนั้น ๆ เพื่อทรงนำมาปรับปรุงกิจการสภากาชาดไทย ให้ก้าวหน้าทัดเทียม
สำหรับพระราชกรณียกิจทางด้านการทหารนั้น โดยที่ทรงดำรงตำแหน่งพันเอกผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระอค์ จึงทรงให้ความสนพระราชหฤทัยต่อการดำเนินงานของกรม ทหารราบที่ 21 รอ.ตลอดมา โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 จะเข้ามาถวายรายงานถึงผลการ ปฏิบัติงาน พร้อมกับรับพระราชเสาวณีย์ ตลอดจนคำแนะนำ ไปดำเนินการปฏิบัติ อยู่เป็นประจำ ทั้งยังทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้นำไปใช้ในด้านสวัสดิการของทหารในบังคับบัญชา ของพระองค์ด้วย
ไม่เพียงแต่ประชาชนชาวไทยเท่านั้น ที่จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ ผู้อพยพลี้ภัยสงคราม จากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายแดนของประเทศไทย ก็มีโอกาสได้รับ พระเมตตาคุณจาก พระองค์ด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยไปให้ความร่วมมือกับ กาชาดสากล ในการช่วยเหลือผู้อพยพ ทั้งทางด้านที่อยู่ อาหารและการสาธารณสุข กับทรงพระราชทานครูเข้าไปสอน วิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ ให้รู้จักประกอบอาชีพ เพื่อเป็นประโยชน์ เมื่อถูกส่งไปอยู่ยัง ประเทศที่สามแล้ว และ เมื่อมีโอกาส ก็จะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เพื่อทรงประจักษ์ด้วยพระองค์เองว่า ผู้อพยพ ซึ่งเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ได้รับความช่วยเหลือให้มีความเป็นอยู่ดีตามสมควรแล้วหรือไม่ จากการที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงทุ่มเท พระวรกาย และพระสติปัญญา ปฏิบัติพระราชกิจ เพื่อให้ราษฎรของพระองค์ สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กับได้พระราชทาน ความช่วยเหลือ ให้แก่ผู้อพยพลี้ภัย ที่ทรงถือว่า เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และไม่ละเว้นไปถึงสัตว์น้อยใหญ่ ที่พลอยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ด้วย ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ทำให้องค์กรระหว่างประเทศ หลายองค์กร ต่างพากันยกย่องสรรเสริญ โดยการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ และใบประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ อาทิ ขอพระราชทานพระนามาภิไธยของพระองค์ ไปเป็นชื่อของดอกไม้ พันธุ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ เหรียญเซเรส เหรียญทองโบโรพุทโธ รางวัล ยูนิเฟม อะวอร์ด ออฟ เอ็กเซลเล้น เป็นต้น เพื่อเป็นการสดุดีเฉลิมพระเกียรติ ในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ให้เป็นที่แพร่หลาย กว้าง ขวางต่อไปอีกด้วย ปัจจุบันนี้แม้จะทรงเจริญพระชนมายุมากกว่า 71 พรรษาแล้ว ทั้งยังทรงมีพระพลานามัย ที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จนต้องทรงงดออกงาน ที่ต้องหักโหมพระวรกายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังทรงเป็นห่วง เป็นใยราษฎรของพระองค์ และมิได้ทรงหยุดปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร ชาวไทยแต่ประการใด

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เปิดประวัติ น้องเก๋ ประภาวดี ฮีโร่โอลิมปิกคนใหม่


เปิดประวัติ น้องเก๋ ประภาวดี ฮีโร่โอลิมปิกคนใหม่
ประเทศไทยมี "ฮีโร่โอลิมปิก" คนใหม่ ชื่อ ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล จอมพลังสาวนักยกน้ำหนักทีมชาติไทย หลังจากสาวจากเมืองปากน้ำโพคว้าเหรียญทองยกน้ำหนัก ในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 29 มาครองได้สำเร็จ แต่เส้นทางสู่ความสำเร็จไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากปราศจากความมุมานะ บากบั่น ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กที่เธอยกเสียอีก






"น้องเก๋" ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ชื่อเดิม จันทร์พิมพ์ กันทะเตียน เป็นบุตรสาวของ นายจันทร์แก้ว กันทะเตียน และ นางราศรี ทัดทอง เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 ที่ จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันอายุ 24 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ก่อนมาเป็นบัณฑิตสาวจากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาโท ที่สถาบันแห่งเดียวกัน เด็กสาวที่ชื่อ จันทร์พิมพ์ เล่นยกน้ำหนักครั้งแรก ในปี 2537 มี อ.สมชาติ แสงน้อย และ อ.ประทีป แสงน้อย เป็นโค้ชคนแรก ก่อนเข้าสังกัด สโมสรถาวรฟาร์ม ของ จังหวัดนครสวรรค์ กีฬายกน้ำหนักเป็นกีฬาที่ไม่สนุก และต้องใช้ความอดทน มุมานะอย่างสูง เรื่องของความสวยงามที่สตรีเพศทุกคนใฝ่หานั้นไม่ต้องพูดถึง และกว่าที่จันทร์พิมพ์ จะสามารถก้าวขึ้นถึงทีมชาติ ต้องรอคอยกระทั่งถึงปี 2544

ในเว็บไซต์ของ ม.นอร์ท-เชียงใหม่ กล่าวยกย่อง จันทร์พิมพ์ ในฐานะนักศึกษาทุน 100% ประเภทนักกีฬา ว่า "น้องเก๋" ไม่เคยท้อต่ออุปสรรค ด้วยเพราะต้องเป็นเสาหลักของครอบครัว และเงินที่ได้รับจากการแข่งขันทุกครั้งได้นำมาดูแลครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างยากจน จนปัจจุบันความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้นมาก แต่จันทร์พิมพ์ยังมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กีฬายกน้ำหนักอยู่เสมอ ความผิดหวังครั้งสำคัญของ จันทร์พิมพ์ เกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน ในการคัดเลือกเป็นตัวแทนทีมชาติเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ที่ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในรุ่น 53 กิโลกรัมหญิง โดยสมาคมยกน้ำหนักแห่งประเทศไทย ตัดสินใจส่ง "น้องอร" อุดมพร พลศักดิ์ เป็นผู้ที่ได้ตั๋ว "เอเธนส์เกมส์" ส่วน "น้องเก๋" ซึ่งประสบอาการบาดเจ็บต้องตกเครื่องในเที่ยวสุดท้าย ซึ่งในเวลาต่อมา "น้องอร" กลายเป็นฮีโร่นักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์มาครอง พร้อมกับวลี "สู้โว้ย" ที่ดังไปทั่วประเทศ ความเศร้าเสียใจเปรียบเสมือนฝันร้ายในครั้งนั้น "น้องเก๋" เกือบจะอำลาทีมชาติ ด้วยฉายา "จอมพลังขี้แย" หลังจากความโศกเศร้า ความเสียใจผ่านพ้นไป "น้องเก๋" เปลี่ยนชื่อและนามสกุลใหม่จาก "จันทร์พิมพ์ กันทะเตียน" มาเป็น "ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล" เช่นเดียวกับครอบครัวก็เปลี่ยนนามสกุลมาใช้ "เจริญรัตนธารากูล" เช่นเดียวกัน "จันทร์พิมพ์" คนเดิม ทิ้งไว้เบื้องหลัง "ประภาวดี" กำลังจะก้าวต่อไป ...

"ตอนนั้นเหมือนโลกมืดไปหมด เก๋แทบเสียคน ทุกอย่างเสียศูนย์ไปหมด ถึงขั้นตัดสินใจเลยว่าจะเลิกเล่น แต่เก๋นึกถึงพ่อแม่ ทำให้รู้ว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องทำ" จอมพลังสาว กล่าว เพียงแต่เมฆหมอกแห่งความโชคร้ายยังไม่หมดแค่นั้น ในศึกยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก ที่ จังหวัดเชียงใหม่ เดือนกันยายน เมื่อปี 2550 ประภาวดี โชคร้ายอีกครั้ง ในการแข่งขันรุ่น 53 กิโลกรัม ที่เธอมีโอกาสได้เหรียญทอง แต่กลับประสบอุบัติเหตุ "ข้อศอกขวาหลุด" ในการยกท่าสแนทช์ เธอทิ้งเหล็กลงอย่างเจ็บปวด ชวดทุกเหรียญยังไม่พอ "น้องเก๋" ต้องรักษาตัว 3 เดือน พลาดติดทีมชาติลงแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่ จังหวัดนครราชสีมา ในปลายปีเดียวกัน

1 เหรียญทองแดง ยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก (ชายครั้งที่ 73 หญิงครั้งที่ 16) ที่ ประเทศแคนาดา ปี 2546 - 1 เหรียญทอง กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ที่ประเทศเวียดนาม ปี 2546 - 3 เหรียญทอง ยกน้ำหนักเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย (ชายครั้งที่ 17 หญิงครั้งที่ 9 ) ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2547 - 3 เหรียญทอง ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปี 2548 - 1 เหรียญทอง ยกน้ำหนักชิงแชมป์โลกที่กาตาร์ ปี 2549 - 3 เหรียญทอง ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศมหาวิทยาลัยโลก ที่เมืองอิซเมียร์ ประเทศตุรกี ปี 2549 - 1 เหรียญเงิน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ปี 2549 - 1 เหรียญทอง ยกน้ำหนักชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศจีน ปี 2550 - นักกีฬาเยาวชนสมัครเล่นหญิงดีเด่น ในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2546 จากการกีฬาแห่งประเทศไทย


วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Poivron



Le poivron, — nom botanique Capsicum annuum — est une plante annuelle de la famille des Solanacées originaire d'Amérique du Sud et centrale, cultivée comme plante potagère pour ses fruits consommés, crus ou cuits, comme légumes. Le terme désigne aussi ce légume de couleurs vives, vert, rouge, jaune.

En fait, cette espèce comporte de nombreuses variétés, soit douces, les poivrons, soit piquantes, les piments. Certaines sont même cultivées pour l'aspect décoratif de leurs fruits, comme plantes d'ornement, les piments d'ornement.

Le poivron est l'ingrédient indispensable d'un certain nombre de plats, dont la ratatouille et la pipérade.




Description

Plante annuelle en climat tempéré car elle ne résiste pas au gel, mais pouvant vivre plusieurs années en climat tropical. Port dressé, presque arbustif, très ramifié. Les tiges de la base ont tendance à se lignifier. La plante atteint de 40 à 50 cm de haut en général. Les feuilles, alternes, lancéolées, se terminant en pointe, sont d'un vert brillant. Les fleurs, nombreuses et petites, sont blanches, à pétales soudés et pointus, au nombre de 6 à 8. Le fruit est une baie d'un type particulier, la pulpe, relativement mince et formant une espèce de capsule entourant un placenta plus ou moins volumineux portant de nombreuses graines. Extérieurement la peau est lisse et brillante, de couleur vert brillant avant maturité, elle prend à maturité une couleur vive, en général rouge, mais aussi jaune, orangé, violet, marron, noir... Les graines sont petites, plates, réniformes, de couleur crème.
Les poivrons se distinguent des piments par des fruits plus gros et plus charnus, et surtout dépourvus de substance piquante (la
capsaïcine).
Distribution

Cette plante n'est connue qu'à l'état cultivé. Elle est très vraisemblablement originaire d'Amérique du Sud et a été probablement domestiquée au Mexique. On a retrouvé des graines vieilles de 5000 ans lors de fouilles archéologiques au Mexique.
Elle est cultivée dans le monde entier, depuis qu'elle a été introduite dans l'ancien monde à la fin du
XVe siècle. Elle s'est répandue très facilement surtout sous la forme piquante, le piment. Le poivron semble s'être répandu plus tard, à la fin du XVIIIe siècle en France et en Europe et au Canada.




วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Click Here to get a Free Hi5 Background
Click Here to get a Free blogger Background

Health and Wellness

วิธีเลือกแว่นกันแดด

แว่นกันแดดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งเมื่อต้องออกไปอยู่กลางแสงแดดจ้าเป็นเวลานานๆ เพราะจากการวิจัยพบว่า การสวมแว่นกันแดดที่ถูกสุขลักษณะจะช่วยรักษาสุขภาพตาได้เป็นอย่างดี และยังช่วยป้องกันโรคต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ด้วย

แว่นกันแดดราคาถูกซึ่งมีขายทั่วไปนั้น ไม่ใช่แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานคุณภาพ เพราะแว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานจะต้องกรองรังสียูวีได้ 99-100% ซึ่งที่ฉลากจะมีเครื่องหมาย UV 400 นอกจากนี้ เมื่อใส่ดูแล้วจะต้องสบายตา เห็นภาพคมชัด ไม่บิดเบี้ยว

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ข่าวเศรษฐกิจ

ตลาดคาดราคาน้ำมันอาจแตะ 200-300 ดอลล์/บาร์เรล


กรุงเทพฯ 12 ก.ค.- ตลาดคาดราคาน้ำมันอาจแตะ 200-300 ดอลลาร์สหรัฐ หากปัญหาอิหร่านรุนแรง อาจทำให้สัปดาห์หน้า คนไทยไม่มีโอกาสเห็นราคาน้ำมันลดลง
โดยปัญหาอิหร่านทดลองขีปนาวุธนิวเคลียร์ ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแรง และทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ ที่ไทยใช้อ้างอิงปิดวานนี้ พุ่งพรวดกว่า 6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยไม่สามารถปรับลดลงได้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธและพัฒนาองค์กร ปตท. ยอมรับความตึงเครียดของสถานการณ์อิหร่าน ทั่วโลกเกรงว่า หากรุนแรงมากขึ้น อาจจะทำให้การขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางผ่านชองแคบเฮอร์ มุส ลดลงร้อยละ 20-30 จนส่งผลให้ทั่วโลกขาดแคลน และอาจจะทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งขึ้นกว่า 200-300 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม จากภาวะราคาน้ำมันสูงในขณะนี้หากไม่มีการเก็งกำไรแล้ว ราคาน้ำมันดิบจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล.-สำนักข่าวไทย

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ผลกระทบของการผลิตพลังงานชีวภาพ­กับสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบของการผลิตพลังงานชีวภาพ­กับสิ่งแวดล้อม

ตามที่สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพ (bioenergy) และได้รายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบมาโดยตลอดนั้น ในการนี้ สำนักงานฯ ได้รับทราบสถานการณ์ล่าสุด เกี่ยวกับผลกระทบของการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสำนักงานฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่า มีประเด็นที่น่าสนใจและจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย สรุปได้ ดังนี้
1. การเพิ่มผลผลิตเกษตรเพื่อใช้ผลิตพลังงานชีวภาพ จากปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ส่งผลให้ความต้องการแหล่งพลังงานใหม่เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันและก๊าซที่มีอยู่ใน­ธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานชีวภาพ ซึ่ง EU พยายามผลักดันการเพิ่มกำลังผลิตพลังงานชีวภาพและพลังทดแทนจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาและจีน ในปัจจุบัน EU สนับสนุนการพัฒนาพลังงานชีวภาพ โดยมีผลผลิตที่ได้จากการเกษตร เช่น rape seed เมล็ดข้าวโพด น้ำตาลบีท ปาล์ม ฯลฯ มาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel) เพื่อใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
1.1 EU ตั้งเป้าไว้ว่า ในปี 2010 จะผลักดันให้ใช้พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพในภาคการขนส่งเท่ากับ 5.75% ของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงแบบเดิม[1] และเพิ่มขึ้นเป็น 10% ในปี 2020 ทั้งนี้เพราะภาคการขนส่งในยุโรปเป็นภาคสำคัญที่มีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากกว­่า 30% ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด และ 98% เป็นการใช้พลังงานเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่มาจากการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่[2] ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มระดับของ CO2 สู่สิ่งแวดล้อมแล้ว ราคาของพลังงานประเภทนี้ยังมีความผันผวนอย่างมากในตลาดโลก ทั้งนี้ เพื่อลดระดับการพึ่งพาการนำเข้าให้น้อยลงและลดการแพร่กระจายก๊าซที่ทำให้เกิดภา­วะเรือนกระจก (ตามข้อตกลง the Kyoto Protocol)
1.2 นาง Marianne Fisher Boel กรรมาธิการยุโรปด้านการเกษตรและพัฒนาชนบท ได้กล่าวถึงกรณีศึกษาของ DG Agriculture and Rural Development ว่า การบรรลุเป้าหมายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้ 10% ภายในปี 2010 จำเป็นต้องใช้พื้นที่ประมาณ 15% ของพื้นที่เพาะปลูก (arable land) ใน EU ทั้งหมด เพื่อปลูกพืชที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ นั่นหมายถึง ในอนาคต อาจมีการแย่งการใช้พื้นที่เกษตร ระหว่างการปลูกพืชเพื่อการบริโภคของมนุษย์ พืชเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือพืชเพื่อผลิตพลังงานชีวภาพ[3]
1.3 ในปี 2004 ความสามารถในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพภายใน EU-25 เพื่อใช้ในภาคการขนส่งผลิตได้ประมาณ 2 MtOE (Million tons of oil equivalent) หรือประมาณ 0.7% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตสูงขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ผลลัพธ์อาจจะต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2010 ที่ 18 MtOE [4]
2 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเพิ่มการผลิตพลังงานชีวภาพ จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เลือกใช้ในการปลูกพืชว่ามีการขยายตัวในเขตใด รวมไปถึงชนิดของพืชที่ปลูก และการบริหารจัดการของฟาร์มด้วย หากปัจจัยทั้งสามประเด็น มิได้มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในเขตพื้นที่ทำฟาร์มและเขตป่า รวมทั้งมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและดินด้วย
2.1 น้ำ การใช้น้ำถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำเกษตรกรรมของประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของ­ยุโรป เพราะระดับน้ำมีความไม่แน่นอนทุกปี การทดน้ำเพื่อนำไปใช้ในการทำเกษตรมากขึ้นทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำจากแหล่งที่กัก­เก็บไว้และระดับน้ำในแหล่งธรรมชาติก็มีปริมาณลดลง อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก การดึงน้ำไปใช้มากขึ้นจะส่งผลต่อระดับความเค็มของน้ำ ปริมาณความสกปรกของน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำ (wetlands) ลดลง และสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยใต้น้ำหรือในแหล่งเก็บน้ำลดลง ทั้งนี้ ในระหว่างปี 1990-2000 พบว่าพื้นที่ที่ต้องมีการทดน้ำในเขตประเทศ EU-15 เพิ่มขึ้นถึง 12% โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเมดิเตอเรเนียนซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการทดน้ำทาง­การเกษตรสูงอยู่แล้ว
2.2 การปนเปื้อนของแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน การชะล้างน้ำจากการทำเกษตรกรรมก่อให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะจากการตกค้างของไนเตรทและฟอสเฟต หรืออาจมีการปนเปื้อนของสารปราบศัตรูพืช ปัจจุบันในเขต EU-15 พบว่ามีการปนเปื้อนของไนเตรทในแหล่งน้ำผิวดินที่มาจากการทำเกษตรกรรมถึง 56%[5] ประเทศที่มีปัญหาความเข้มข้นของไนเตรทในแหล่งน้ำ (แม่น้ำ) ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของ EU แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ก็มีปัญหาดังกล่าวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
2.3 ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของการทำเกษตรกรรม จากการเพาะปลูกพืชแบบดั้งเดิม ไปสู่การปลูกพืชที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงมีอัตราที่เพิ่มขึ้น (เช่น เน้นการปลูก rape seed อย่างเดียวเพื่อใช้ในการผลิตพลังงาน Biodiesel) หรือการเปลี่ยนจากพื้นที่ทุ่งหญ้า (grassland) ไปเป็นพื้นที่เพาะปลูก (arable land) ได้ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่เพาะปลูกในเขตนั้น ดังจะเห็นได้ว่า ปริมาณ rape seed ในปี 2005 ของประเทศEU-25 อยู่ที่ 15.5 ล้านตัน (สูงขึ้นถึง 28% จากค่าเฉลี่ยใน 5 ปีที่ผ่านมา) โดยใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 4.8 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน 5 ประเทศ ดังนี้ เยอรมนี (1.35 ล้านเฮกตาร์) ฝรั่งเศส (1.21 ล้านเฮกตาร์) สหราชอาณาจักร (0.6 ล้านเฮกตาร์) โปแลนด์ (0.55 ล้านเฮกตาร์) และสาธารณรัฐเชค (0.27 ล้านเฮกตาร์)[6]
2.4 การกัดเซาะของดิน และความแข็งตัวของดิน ผลจากการทำการเกษตรอย่างหนาแน่นทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะของดิน (soil erosion) นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการไถดิน การใช้ปุ๋ยคอกและการเก็บเกี่ยว ทำให้ดินเกิดความแข็งตัว (soil compaction) ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โครงสร้างของดินและปริมาณการอุ้มน้ำของดิน
2.5 ก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการเพาะปลูก การไถพื้นที่ทุ่งหญ้า (permanent grassland) เพื่อเตรียมเพาะปลูกพืชที่นำไปผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้เกิดการปลดปล่อยของก๊าซคาร์บอนจากดิน ซึ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายของการ­ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อลดปัญหาการกระจายของก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์จากการใช้เช­ื้อเพลิงฟอสซิล
3 อนาคตของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ความต้องการพลังงานชีวภาพที่เพิ่มขึ้นในอนาคตย่อมนำไปสู่การปลูกพืชเพื่อใช้ผลิ­ตเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งเน้นอยู่เพียงไม่กี่ชนิด อย่างไรก็ดี หากปราศจากการควบคุมที่ดี ย่อมส่งผลกระทบในแง่ลบกับสิ่งแวดล้อมดังที่กล่าวมา แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีการทำเกษตรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (environmentally-compatible) จะเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้กับธรรมชาติ โดยไม่ทำลายแหล่งทรัพยากรน้ำและดิน ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้โดย
3.1 ปลูกพืชที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพหลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของพืชในบริเวณนั้น โดยเลือกปลูกพืชที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น perennials และ annual crops เลือกปลูกพืชที่ให้ผลผลิตสูง บริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อเฮ­กตาร์ให้มากขึ้น
3.2 หลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ grassland หรือ dehesas ไปเป็นพื้นที่ปลูกพืชที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ทั้งนี้ หากต้องมีการไถดินในบริเวณนั้นจะเป็นการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่อากาศและส่งผลกร­ะทบต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมอันจะทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพหมดไป รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ (wetland) เป็นแหล่งเพาะปลูกเช่นกัน เพราะพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนตามธรรมชาติ
3.3 หลีกเลี่ยงการปลูกพืชในพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องผันน้ำที่มากขึ้น หรือจำเป็นต้องใช้สารปราบศัตรูพืช ปุ๋ย หรือการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่
3.4 ในอนาคต อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีการออกมาตรการที่กำหนดว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลั­งงานทดแทนต้องสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ (traceable) และสามารถรับประกันแหล่งที่มา (Guarantee of origin) เพื่อเป็นการรับรองว่าการผลิตวัตถุดิบนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อป่าไม้ เขตธรรมชาติที่มีการปกป้องหรือเกิดจากการเปลี่ยนพื้นที่ทุ่งหญ้า[7]
3.5 พยายามพัฒนาการใช้แหล่งวัตถุดิบอื่นนอกเหนือจากผลผลิตเกษตรในการผลิตเชื้อเพลิง­ชีวภาพให้มากขึ้น เช่น การใช้ของเสีย (waste) ที่มาจากการเกษตร ป่าไม้ อุตสาหกรรมหรือครัวเรือน นอกจากทำให้เกิดผลดีด้านเศรษฐกิจเพราะใช้ของเสียมาผลิตเป็นพลังงานชีวภาพแล้วยั­งไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
3.6 ต้องมีการคิดค้นพัฒนาการค้นหาแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพแหล่งใหม่อื่นๆ (second generation of biofuels) ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและก่อให้เกิดสารคาร์บอนไดอ๊อกไซด์น้อยกว่าเชื้อเพล­ิงชีวภาพที่ใช้ในปัจจุบัน
ในเรื่องนี้ สำนักงานฯ ขอเรียนข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้
ก) ผลการศึกษาของ EEA แสดงให้เห็นว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ประเทศสมาชิกยุโรป EU-25 สามารถผลิตพลังงานชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนได้เพียงพอกับที่ EU ตั้งเป้าหมายไว้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ภายใต้เงื่อนไข environmental-compatible โดยคาดว่าจะสามารถผลิตพลังงานชีวภาพได้ 190 MtOE[8] ในปี 2010 และประมาณ 295 MtOE ในปี 2030 ในขณะที่เป้าหมายตั้งไว้ใน Biomass Action Plan ต้องการให้มีการใช้พลังงานทดแทนเทียบเท่ากับพลังงานชีวภาพประมาณ 150 MtOE ในปี 2010 และ 230-250 MtOE ภายหลังปี 2010
ข) ประเทศสมาชิกยุโรปส่วนใหญ่จะเน้นทำการเกษตรเพื่อใช้ผลิตอาหารมากกว่าวัตถุประสง­ค์อื่น แต่จากนโยบายของ EU ที่สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานชีวภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคการขนส่ง ย่อมจะส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมหันมาผลิตพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง­ชีวภาพเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าจากการศึกษาข้างต้น ประเทศสมาชิกยุโรปมีศักยภาพในการผลิตพืชพลังงานได้เพียงพอกับความต้องการแล้ว หากแต่ภายใต้การแข่งขันในระดับโลก ประเทศสมาชิก EU จำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตวัตถุดิบของเชื้อเพลิงชีวภาพมิให้สูงมากเกิน­ไป รวมถึงต้องเป็นการทำเกษตรแบบยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับสภาพสังคมเศรษฐกิจด้วย
ค) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่เศรษฐกิจยังขึ้นอยู่กับสินค้าเกษตรแต่ประสบ­ปัญหาด้านราคา อาจหันมาผลิตพืชใช้ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกำลังพัฒนามีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตเมื่อเทียบกับยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างงานในภาคชนบท ทำให้เกิดรายได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพควรได้รับการควบคุมและวางแผนอย่­างมีระบบจากรัฐบาล เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ง) เห็นควรแจ้งกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ติดตามการพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพของ EU อย่างใกล้ชิด รวมทั้งศึกษาช่องทางและโอกาสการขยายการปลูกพืชที่มีศักยภาพของไทยที่สามารถผลิต­เชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งภายในประเทศและการส่งออกสินค้าเชื้อเพลิงชีวภาพของไทยใน EU ในอนาคตต่อไป

10 Things You Can Do to Reduce Global Warming



10 Things You Can Do to Reduce Global Warming

ลดการใช้ถุงพลาสติกในการจับจ่ายซื้อของ หันมาพกถุงผ้า ช่วยโลกกันดีกว่า แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้มันจริงๆ ก็อย่าลืมนำกลับมารีไซเคิลสำหรับโอกาสต่อไปด้วยล่ะ
ปิดสวิทซ์หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้ จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 พันปอนด์ต่อปี
เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดประหยัดพลังงานแบบขด เพราะจะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปี
มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น เพราะการจะได้ใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์จะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ
ร่วมประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool ชักชวนเพื่อนๆ หรือ คนบ้านใกล้เรือนเคียงนั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน หรือ เลือกเดินทางจากบริการขนส่งมวลชนแทน ช่วยลดการ ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อม
หันมาใช้พลังงานทางเลือก เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าบางจุด
สร้างนโยบาย 3Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด
ช่วยปลูกต้นไม้ 1 ต้น จะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน
บริโภคเนื้อวัวให้น้อยลง ทานผัก (ปลอดสารพิษ) ให้มากขึ้น ฟาร์มเลี้ยงวัวคือแหล่งหลักในการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ บรรยากาศ
ร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมในชุมชน กระตุ้นให้เกิดการร่วมมือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขอบคุณ Msn มากค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Poireau


Poireau



Poireau est un terme qui désigne plusieurs plantes du genre Allium dont Allium polyanthum, le poireau de vigne. Cependant, la plupart du temps, c'est du poireau cultivé, Allium porrum, dont il est question. Cet article ne traite que de ce dernier.

Le poireau commun est donc une plante herbacée bisannuelle de la famille des Alliacées, largement cultivée comme plante potagère pour ses feuilles (pseudo-tiges) consommées comme légumes.

Nom scientifique : Allium porrum L., famille des Alliacées (précédemment famille des Liliacées).

Nom commun : poireau, porreau, poirée, poirette, asperge du pauvre, . de : Porree, Lauch, en : leek, es : porro.
Description
Longues feuilles engainantes, opposées, plates, vert sombre ou vert jaunâtre, plus ou moins larges. La base des feuilles emboîtées forme une pseudo-tige appelée « fût », dont la partie enterrée est blanche, et la plus appréciée.
Les fleurs, blanc verdâtre, apparaissent groupées en
ombelle au sommet d'une tige florale dressée la deuxième année.
Origine et distribution
Cette espèce est originaire de la région méditerranéenne, probablement du Proche-Orient. Elle est largement cultivée dans toutes les zones tempérées.
C'est un légume très anciennement connu. L'empereur romain
Néron fut surnommé le « porrophage » car il en consommait, paraît-il, de grandes quantités pour s'éclaircir la voix. Cette plante figurait parmi les plantes potagères recommandées dans le capitulaire De Villis au Moyen Âge.
Culture
Préfère un sol frais, profond et riche en humus. C'est une plante très rustique, qui supporte bien le froid de l'hiver. La multiplication se fait en deux temps :
semis en pépinière en février-mars ou en place en avril-mai.
repiquage des jeunes plants lorsque les tiges ont la taille d'un crayon après les avoir « habillés » (c'est-à-dire avoir raccourci les feuilles et les racines). Un repiquage profond favorise la longueur du fût.
La récolte intervient de 5 à 7 mois après la plantation. On pratique le buttage pour augmenter la longueur de la partie blanche. Les poireaux peuvent se conserver en terre, ou en jauge abritée pour pouvoir les récolter par grands froids. Chez les maraîchers spécialisés, la récolte est mécanisée. S'établit à partir de septembre.
Principales variétés cultivées
Gros court d'été
Bleu de Solaize
Monstrueux d'Elbeuf
Monstrueux de Carentan
Jaune gros du Poitou
Long de mézières
Gros long d'été
Malabar du nord
Ennemis du poireau
Un ravageur est principalement à redouter : la teigne du poireau (ou ver du poireau). Il peut être sujet à des attaques de la mouche de l'oignon (Delia antiqua, famille des Anthomyiidae).
Principales maladies cryptogamiques : le
mildiou du poireau, la graisse du poireau, et la rouille du poireau
Utilisation
Le poireau est très pauvre en calories et riche en fibres.
Les poireaux, dont le goût est intermédiaire entre ceux de l'oignon et de l'asperge, se consomment cuits. On peut les manger froids en vinaigrette, mais ils entrent le plus souvent dans la préparation de plats chauds :
potages, tartes, quiches, pot-au-feu, potées...
Le poireau entre aussi sous forme déshydratée dans les potages industriels

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Vocabulaire

Vocabulaire

Les professions


1. acteur / actrice อัก-เตอร์ / อัก-ทริซ(เซอ) นักแสดง
2. agent de police [n.m.] อะ-ชอง เดอ โป-ลิส(เซอ) เจ้าหน้าที่ตำรวจ
3. bijoutier / bijoutière บิ-ชู-ติ-เย / บิ-ชู-ติ-แย(เรอ) ช่างทำ หรือ คนขายเครื่องประดับและทอง
4. boucher / bouchère บู-เช / บู-แช(เรอ) คนขายเนื้อ (วัว และ ม้า)
5. caissier / caissière เกส-ซิ-เย / เกส-ซิ-แย(เรอ) พนักงานรับจ่ายเงิน, แคชเชียร์
6. chanteur / chanteuse ชอง-เตอร์ / ชอง-เติส(เซอ) นักร้อง
7. danseur / danseuse ดอง-เซอร์ / ดอง-เซิส(เซอ) นักเต้น, นักรำ
8. dentiste [n.m. / n.f.] ดอง--ติส(เตอ) ทันตแพทย์
9. électricienne เอ-เล-ทริ-เซียน(เนอ) ช่างไฟฟ้า
10.employé / employée ออง-ปลัว-เย่ พนักงาน, ลูกจ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Lion


Lion


The lion (Panthera leo) is a member of the family Felidae and one of four big cats in the genus Panthera. With exceptionally large males exceeding 250 kg (550 lb) in weight,[2] it is the second-largest living cat after the tiger. Wild lions currently exist in sub-Saharan Africa and in Asia with a critically endangered remnant population in northwest India, having disappeared from North Africa, the Middle East and western Asia in historic times. Until the late Pleistocene (about 10,000 years ago), the lion was the most widespread large land mammal beside humans. They were found in most of Africa, much of Eurasia from western Europe to India and, in the Americas, from the Yukon to Peru.
Should they survive the rigors of cubhood, lionesses in secure habitat such as
Kruger National Park may frequently reach an age of 12–14 years whereas lions seldom live for longer than 8 years.[3] However, there are records of lionesses living for up to 20 years in the wild. In captivity both male and female lions can live for over 20 years. They typically inhabit savanna and grassland, although they may take to bush and forest. Lions are unusually social compared to other cats. A pride of lions consists of related females and offspring and a small number of adult males. Groups of female lions typically hunt together, preying mostly on large ungulates. The lion is an apex and keystone predator, although they will resort to scavenging if the opportunity arises. While lions, in general, do not selectively hunt humans, some have been known to become man-eaters and seek human prey.
The lion is a
vulnerable species, having seen a possibly irreversible population decline of 30 to 50 percent over the past two decades in its African range;[1] populations are untenable outside designated reserves and national parks. Although the cause of the decline is not well understood, habitat loss and conflicts with humans are currently the greatest causes of concern. Lions have been kept in menageries since Roman times and have been a key species sought after and exhibited in zoos the world over since the late eighteenth century. Zoos are cooperating worldwide in breeding programs for the endangered Asiatic subspecies.
Visually, the male is highly distinctive and is easily recognized by its
mane. The head of the male lion is one of the most widely recognized animal symbols in human culture. It has been depicted extensively in literature, in sculptures, in paintings, on national flags, and in contemporary films and literature.
The lioness has been recognized, however, as the pinnacle of hunting prowess from the earliest of human writings and graphic representations. The lionesses are the hunters for their pride and capture their prey with precise and complex teamwork. Each lioness develops specific skills for her role in the hunting techniques used by her pride and, generally, assumes that role during most hunts. Members of human cultures living among lions in natural habitats have understood this characteristic and often have chosen the lioness to represent their most ferocious
war deities and warriors, often naming their male rulers as her "son". Examples drawn from the earliest of written records include the Egyptian pantheon deities of Sekhmet, Bast, Menhit, and Tefnut, and these deities may have had precursors in Nubia and Lybia. Other Egyptian deities are quite complex and assume aspects that may include one as a lioness headed human or a lioness in specific roles. Depictions of lions hunting in groups have existed from the Upper Paleolithic period, with carvings and paintings from the Lascaux and Chauvet Caves.

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ระบบนิเวศ



ระบบนิเวศป่าชายเลนของประเทศไทย และทิศทางการจัดการ





ระบบนิเวศป่าชายเลน (Mangrove ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ (Ecotone) ระหว่างผืนแผ่นดินกับพื้นน้ำทะเลในเขตร้อน (Tropical) และกึ่งร้อน (Subtropical) ของโลกซึ่งมีป่าชายเลนขึ้นอยู่เป็นระบบที่นำเอาทรัพยากรน้ำ ดิน และแร่ธาตุอาหารต่างๆ จากบกและทะเลมาปรุงแต่งให้เป็นแหล่งทรัพยาการที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าสูง ขณะเดียวกันตัวเองจะทำหน้าที่เป็นป้อมปราการที่คอยปกป้องและรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ของมวลมนุษยชาติอย่างยั่งยืน

ป่าชายเลน (Mangrove forest, Tidal forest or Intertidial forest) หมายถึง กลุ่มสังคมพืชขึ้นอยู่ในบริเวณน้ำทะเลปกติท่วมสูงสุด พบเป็นส่วนมากในบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว พืชที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนจะมีสรีระที่คล้ายคลึงกันเป็นพืชที่ไม่ผลัดใบทั้งหมดในฤดูเดียวกัน พบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน (Tropical region) และกึ่งร้อน (Subtropical) บ้างเล็กน้อย


ปัจจัยสิ่งเเวดล้อมที่สำคัญ



Walh (1974) และ Chapman (1975) รายงานว่ามีปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญต่อการกำเนิดป่าชายเลนทั่วโลก 7 ประการคือ 1. อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในบริเวณที่มีป่าชายเลนในเดือนที่อุณหภูมิต่ำที่สุดจะไม่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตกึ่งร้อน (Subtropical) ซึ่งมีอากาศที่หนาวเช่นนั้นจะมีป่าชายเลนขึ้นอยู่น้อยนิด และขนาดของต้นไม้จะเล็กกว่าป่าชายเลนที่อยู่ในเขตร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส พันธุ์ไม้ชนิดที่สำคัญที่พบอยู่ในเขตอากาศค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว ได้แก่ รังกระแท้ (Kandelia candel) พบมากในประเทศญี่ปุ่น แสมทะเล (Avicennia marina) พบในประเทศนิวซีแลนด์ และแสม (Avicennia germinans) พบในมลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
2. ดิน (Soil) แม้ว่าป่าชายเลนจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ที่เป็นทราย พีท (Peat) และปะการังก็ตาม แต่โดยส่วนใหญ่แล้วป่าชายเลนจขึ้นอยู่กับในที่ที่เป็นดินเลน ซึ่งพบทั่วไปในบริเวณที่มีตะกอนทับถมตามชายฝั่ง (Detaic coasts) ทะเลใน (Lagoons) และชายฝั่งตามปากแม่น้ำ (Estuarine shorelines) ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นก็ยังช่วยให้เกิดการทับถมของตะกอนโดยรวดเร็วมากขึ้น (Steer, 1977)
3. การได้รับการป้องกัน (Protection) บริเวณอ่าวทะเลใน ปากแม่น้ำ และชายฝั่งทั่วไป ที่อยู่หลังบริเวณที่มีเกาะหรือที่ตื้นแคบๆ (Spit) ที่อยู่ตามชายฝั่งจะทำให้มีป่าชายเลนขึ้นอยู่หนาแน่นและมีการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติที่ดี ทั้งนี้ก็เนื่องจากได้มีส่วนลดความรุนแรงของคลื่นที่จะทำลายกล้าไม้ป่าชายเลน ในประเทศไทยจึงมีป่าชายเลนอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเลตะวันตก 930,650.25 ไร่ ในปี พ.ศ.2539 หรือประมาณ 64.35 % ของป่าชายเลนที่เคยมีอยู่ในปีพ.ศ. 2504 (ธงชัย, 2539) ส่วนใหญ่อยู่ตามชายฝั่งทะเลและริมลำคลองทั่วไป ยังคงเหลือเป็นผืนใหญ่อยู่บ้างในบริเวณอ่าวปากพนัง บริเวณแหลมตะลุมพุกและอ่าวปัตตานีมีสันทรายคอยกั้นคลื่นลม จะมีการทับถมของตะกอนมากทำให้ลดความรุนแรงของคลื่นลม และมีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นทุกปี 4. ความเค็มของน้ำทะเล (Salinity) จากการทดลองพบว่าการที่พืชในป่าชายเลนจะเจริญเติบโตได้จะต้องอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีความเค็มที่เหมาะสม Chapman (1977) พบว่า โกงกาง (Rhizophora) เป็นพืชที่ผูกพันกับความเค็มมาก การเจริญเติบโตจะลดลงเมื่อขาดเกลือ และ Vu-van-Cuong (1964) รายงานไว้ว่า โปรงแดง (Ceriops tagal) และแสมดำ (Avicennia officinalis) จะไม่เจริญเติบโตในที่ซึ่งขาดเกลือ ดังนั้นปริมาณเกลือจึงมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไม้ป่าชายเลน ถ้ามีเกลือน้อยจะทำให้การเจริญเติบโตช้า ไม่สามารถแก่งแย่งการเจริญเติบโตกับพืชอื่น นอกเสียจากจะได้กำจัดพืชนั้นและทำให้ลดลงโดยเพิ่มปริมาณเกลือลง 5. น้ำขึ้นน้ำลง (Tidal range) ช่วงน้ำขึ้นน้ำลงจะมากน้อยขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ในภูมิประเทศนั้นด้วย ถ้าเป็นบริเวณที่มีความลาดชันต่ำมีน้ำท่วมมากจะทำให้พื้นที่ป่าชายเลนมากด้วย ตรงข้ามพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ป่าชายเลนจะเป็นแนวแคบ จากลักษณะความแตกต่างกันในภูมิประเทศเช่นนี้ จะทำให้พื้นที่ป่าชายเลนมากบ้างน้อยบ้างตามสภาพภูมิประเทศในบริเวณชายฝั่งทางด้านอ่าวไทยและอันดามันทั่วไป
6. กระแสน้ำในมหาสมุทร (Ocean currents) ในฤดูกาลแตกต่างกันการไหลของกระแสน้ำย่อมแตกต่างกันไปด้วย กระแสน้ำจะมีส่วนช่วยในการขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลน โดยนำเอาฝังโกงกางหรือเมล็ดแสม (Propagules) ลอยกระจายไปตามชายฝั่ง Chapman (1975) พบว่าป่าชายเลนถูกกำจัดอยู่ในบริเวณฝั่งตะวันตกของแอฟริกาตอนใต้ในบริเวณขอบเขตระหว่างกระแสน้ำเย็นทางตอนใต้และกระแสน้ำอุ่นที่ไหลไปจากตอนบนและปรากฎการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียและอเมริกาใต้ 7. ชายฝั่งทะเลตื้น (Shallow shores) Chapman (1975) อธิบายว่าการที่ป่าชายเลนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีน้ำลึกก็เนื่องมาจากไม่สามารถยึดเหนี่ยวดินในบริเวณน้ำลึกได้ ดั้งนั้น ยิ่งมีพื้นที่น้ำตื้นมากขึ้นเท่าใดก็จะทำให้พื้นที่ป่าชายเลนขยายมากขึ้นเท่านั้นด้วย ในเรื่องนี้เหตุผลที่แท้จริงแล้วในพื้นที่ลึกซึ่งป่าชายเลนไม่สามารถขยายออกไปได้นั้น ก็เนื่องมาจากการที่ดินเลนในบริเวณนั้นยังไม่พัฒนาอยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่จะให้พรรณไม้เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นได้ การปลูกและใช้หลักปักยึดเหนี่ยวต้นกล้าที่ปลูกไม่ให้ล้มในพื้นที่ดินเลนงอกใหม่หลายพื้นที่ต้องประสบกับความล้มเหลว นอกจากดินเลนอ่อนจนรากไม่อาจยึดพื้นดินได้แล้วยังมีเพรียง (Banacle sp.) เกาะลำต้นกล้าไม้ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ทำให้ตายไปในที่สุด การปลูกป่าชายเลนหรือช่วยการสืบพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติ จึงควรมีการศึกษาวิเคราะห์โดยละเอียดก่อนดำเนินการ

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

คอเลสเทอรอลคืออะไร??

คอเลสเทอรอลคืออะไร??


คอเลสเทอรอล คือสารไขมันที่อยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย บางชนิดจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายตับของคนเราสามารถผลิตคอเลสเทอรอลปริมาณ 300 มิลลิกรัม/วันแต่หากมีปริมาณมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายได้ถ้าระดับคอเลสเทอรอลสูงเกินไปจะเพิ่มอัตราการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพราะถ้าเปรียบเทียบเส้นเลือดต่างๆของร่างกายเหมือนท่อประปาภาวะไขมันสูงก็เหมือนภาวะที่มีตะกอนในน้ำมากและทำให้เกิดการตกตะกอนในท่อน้ำนำมาซึ่งถึงการตีบตันลง ดังนั้นภาวะไขมันในเลือดสูงจึงจัดเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เส้นเลือดต่างๆในร่างกายตีบตันจากภาวะหลอดเลือดแข็งประเภทของไขมันในเลือด มี3 ชนิด1) LDL (low densitylipoprotein)LDL Cholesterol ซึ่งรู้จักกันดีในนามของ"ตัวผู้ร้าย" LDL-C ถ้ามีมากจะสะสมในหลอดเลือดแดงได้มาจากการสังเคราะห์ที่ตับและจากการบริโภคอาหารที่มี คอเลสเทอรอลสูงยิ่งระดับ LDL-C สูงเท่าไหร่อัตราการเป็นโรคหัวใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น2) HDL (high densitylipoprotein)HDL Cholesterol ซึ่งรู้จักในนามของ "The best cholesterol" เปรียบเสมือนตำรวจที่คอยตรวจจับผู้ร้ายเพราะเชื่อกนว่ามันเป็นตัวกำจัดคอเลสเทอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับ และเปลี่ยนเป็นพลังงานดังนั้นการมีระดับ HDL-C ในเลือดสูงจะลดอัตราเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจตีบตัน หัวใจแข็งตัวได้3)TG(Triglyceride)เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งในกระแสเลือดเปรียบเสมือน "ผู้ช่วยตัวร้าย" ได้มาจากไขมันที่มาจากทั้งพืชและสัตว์เพราะฉนั้นทุกครั้งที่รับประทานอาหารที่มีไขมันคือการรับประทานไตรกลีเซอร์ไรด์นั่นเอง TG มีประโยชน์ในการช่วยดูดซึมวิตามิน A D E K แต่ถ้ามีระดับ TG ในเลือดสูงเกินไปพร้อมกับระดับLDL-C สูงด้วยจะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและทำให้ตับอ่อนอักเสบสาเหตุของระดับ คอเลสเทอรอลสูงได้แก่พฤติกรรมการบริโภค ขาดการออกกำลังกาย และกรรมพันธุ์ โรคบางอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือว่าเป็น "ฆาตรกรเงียบ" เพราะมักไม่แสดงอาการกับผู้ป่วยแต่อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือเป็นลมเสียชีวิตได้ทันทีการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับคอเลสเทอรอล-ระวังเรื่องอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันสัตว์ นม เนย ไข่เครื่องใน/สมองสัตว์ หอยนางรม กุ้ง- ควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วนเกินพิกัด- บริหารร่างกายตามความเหมาะสมเป็นประจำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที โดย วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค- งดสูบบุหรี่- หลีกเลี่ยงการดื่มเบียร์และแอลกอออล์ขอให้เพื่อนๆไปตรวจเลือดเป็นประจำ ควรจะอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อจะได้ดูแลรักษาพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้นนะคะ

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551


น้ำส้ม
การเตรียมน้ำส้ม
น้ำส้มคั้น
การเตรียมน้ำส้มนั้น ปกติแล้วน้ำส้มคั้นจะใช้
ส้มเขียวหวานผลใหญ่ เพราะส้มเขียวหวานผลใหญ่จะให้น้ำส้มที่มีรสชาติหวาน สามารถคั้นเอาน้ำรับประทานได้ทันที หรือจะเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้ เมื่อเตรียมเสร็จแล้วเทใส่แก้วพร้อมเสิร์ฟ (ปกติแล้วแก้วที่ใส่จะเป็นแก้วเปล่าไม่ใส่น้ำแข็งเพราะน้ำส้มจะมีรสหวานอ่อนๆ ถ้าเติมน้ำแข็งลงไปอีกจะทำให้น้ำส้มจืดเสียรสชาติ)
น้ำส้มปั่น
ส้มที่ใช้ในการทำน้ำส้มปั่นจะใช้ส้มเขียวหวานผลเล็ก (หรือที่ภาษาตลาดเรียกว่าส้มคั้นน้ำ) ส้มดังกล่าวจะให้น้ำส้มที่มีรสออกเปรี้ยว สาเหตุที่ใช้ส้มเปรี้ยวในการปั่นเพราะถ้าใช้น้ำส้มที่มีรสหวานอ่อนๆ จากธรรมชาติมาปั่นรวมกับน้ำแข็งจะทำให้ได้น้ำส้มที่มีรสจืดตามที่ได้บอกไว้ในข้างต้น น้ำส้มปั่นสามารถทำได้โดยคั้นน้ำส้มจนได้ปริมาณตามต้องการ จากนั้นเทใส่เครื่องปั่นที่ใส่น้ำแข็งไว้ จากนั้นเติมน้ำเชื่อมกับเกลือ แล้วปั่นประมาณ 30 วินาทีจะได้น้ำส้มปั่นตามต้องการ
ปกติในร้านอาหารหรือภัตตาคารมักจะเสิร์ฟน้ำส้มคั้นโดยเทใส่แก้วใสพร้อมกับมีชิ้นส้มหั่นแว่น 1 แว่นเหน็บอยู่ที่ปากแก้ว

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551


Concombre
Le concombre (Cucumis sativus) est une plante potagère herbacée, rampante, de la même famille que la calebasse, le melon ou la courge (famille des Cucurbitacées) cultivée pour son fruit, lequel est consommé comme légume. La plante qui poussait naturellement au pied de l'Himalaya aurait été domestiquée pour la première fois en Inde il y a au moins 3 000 ans.
C'est la même espèce Cucumis sativus qui produit les cornichons.

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Taoïsme


Le taoïsme (道教 dào jiào « enseignement de la Voie ») est à la fois une philosophie et une religion chinoise. Plongeant ses racines dans la culture ancienne, ce courant se fonde sur des textes, dont le Dao De Jing (tao te king) de Laozi (Lao-tseu), et s’exprime par des pratiques, qui influencèrent tout l’Extrême-Orient. Il apporte entre autres :
une
mystique quiétiste, reprise par le bouddhisme Chan (ancêtre du zen japonais) ;
une
éthique libertaire qui inspira notamment la littérature ;
un sens des équilibres
yin yang poursuivi par la médecine chinoise et le développement personnel ;
un
naturalisme visible dans la calligraphie et l’art.
Ces influences, et d’autres, encouragent à comprendre ce qu’a pu être cet enseignement dans ses époques les plus florissantes.


Histoire


Sima Qian (-145~-86) est le père de l’histoire chinoise, il chercha à renseigner la biographie de tous les personnages mythiques ou réels des époques précédentes, et parmi des vies d’empereurs, ce commentaire en exergue est à propos des saints de l'école de la Voie (Zhuangzi, Laozi). Il résume la difficulté d’établir une chronologie de cet enseignement, car ceux qui le suivirent s’ingénièrent aussi bien à se cacher, qu’à brouiller les dates et les noms. L’établissement d’une histoire du taoïsme satisfaisant la critique occidentale est une élaboration récente.
En 1934,
Marcel Granet écrivait « pour découvrir [...] la pensée chinoise, on dispose de renseignements assez bons, mais ils ne pourraient guère autoriser à composer une Histoire de la Philosophie comparable à celle qu’il été possible d’écrire pour d’autres pays que la Chine. »[3]. À la même époque, Henri Maspero commence à classer et analyser l’immense corpus taoïste postérieur à l’antiquité, donnant lieu à une édition posthume en 1950. En 1963, Max Kaltenmark peut écrire Lao Tseu et le taoïsme, et pose en 1972 les jalons de la philosophie chinoise dans les 128 pages d’un Que sais-je ? (réédité en 1994). En 1997, Anne Cheng porte enfin à la connaissance du public non spécialiste une Histoire de la pensée chinoise de 600 pages, qui va jusqu’en en 1919, et répondant aux exigences posées en 1934. Parallèlement, en 1991, Isabelle Robinet publie une Histoire du taoïsme : des origines au XIVe siècle, très citée à l’étranger. Ces deux dernières références ont été privilégiées pour renseigner cette section.

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Frite


Frite



Les frites sont des pommes de terre coupées en morceaux allongés et cuites en friture, autrefois dans de la graisse de bœuf et depuis plutôt dans de l'huile d'arachide, de préférence dans une machine dédiée (celle-ci appelée friteuse).
Elles doivent être croustillantes et dorées à l'extérieur et moelleuses à l'intérieur. Lorsqu'elles sont coupées très fines, elles portent le nom pommes allumettes. Ces dernières sont surtout utilisées dans la
restauration rapide, ou dans les produits surgelés.
Ce mode de cuisson est particulièrement gras, c’est-à-dire qu'il y a beaucoup d'huile… : alors qu'une pomme de terre ne contient que 0,5 % de
lipides, une frite en contient approximativement 25 %. Le taux de matière grasse est dépendant du rapport volume sur surface de la frite : plus la frite est finement coupée, plus la surface en contact avec l'huile est grande. La préparation sous forme de chips est donc encore plus riche en graisses.
Les « moules-frites » pour les
Belges et le « fish and chips » pour les Britanniques sont des piliers de la nourriture populaire ou au moins de son folklore. Mais désormais la plus grosse quantité est commercialisée comme l'accompagnement systématique de la restauration rapide qui les reçoivent surgelées et précuites.
Des recherches sont en cours pour tenter de mettre au point une pellicule d'amidon qui permettrait de réduire le défaut diététique tout en maintenant la facilité d'emploi pour les chaînes.

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

Gibbon


Gibbon


Gibbons are the small apes in the family Hylobatidae. The family is divided into four genera based on their diploid chromosome number: Hylobates (44), Hoolock (38), Nomascus (52), and Symphalangus (50).[2][3] The extinct Bunopithecus sericus is a gibbon or gibbon-like ape which, until recently, was thought to be closely related to the Hoolock gibbons.[2] Gibbons occur in tropical and subtropical rainforests from northeast India to Indonesia and north to southern China, including the islands of Sumatra, Borneo and Java.
Also called the lesser apes, gibbons differ from
great apes (chimpanzees, gorillas, orangutans and humans) in being smaller and pair-bonded, in not making nests, and in certain anatomical details in which they superficially more closely resemble monkeys than great apes do. Gibbons are masters of their primary mode of locomotion, brachiation, swinging from branch to branch distances of up to 15 m (50 ft), at speeds as much as 56 km/h (35 mph). They can also make leaps of up to 8 m (27 ft), and walk bipedally with their arms raised for balance. They are the fastest and most agile of all tree-dwelling, non-flying mammals.