วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Click Here to get a Free Hi5 Background
Click Here to get a Free blogger Background

Health and Wellness

วิธีเลือกแว่นกันแดด

แว่นกันแดดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งเมื่อต้องออกไปอยู่กลางแสงแดดจ้าเป็นเวลานานๆ เพราะจากการวิจัยพบว่า การสวมแว่นกันแดดที่ถูกสุขลักษณะจะช่วยรักษาสุขภาพตาได้เป็นอย่างดี และยังช่วยป้องกันโรคต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ด้วย

แว่นกันแดดราคาถูกซึ่งมีขายทั่วไปนั้น ไม่ใช่แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานคุณภาพ เพราะแว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานจะต้องกรองรังสียูวีได้ 99-100% ซึ่งที่ฉลากจะมีเครื่องหมาย UV 400 นอกจากนี้ เมื่อใส่ดูแล้วจะต้องสบายตา เห็นภาพคมชัด ไม่บิดเบี้ยว

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ข่าวเศรษฐกิจ

ตลาดคาดราคาน้ำมันอาจแตะ 200-300 ดอลล์/บาร์เรล


กรุงเทพฯ 12 ก.ค.- ตลาดคาดราคาน้ำมันอาจแตะ 200-300 ดอลลาร์สหรัฐ หากปัญหาอิหร่านรุนแรง อาจทำให้สัปดาห์หน้า คนไทยไม่มีโอกาสเห็นราคาน้ำมันลดลง
โดยปัญหาอิหร่านทดลองขีปนาวุธนิวเคลียร์ ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแรง และทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ ที่ไทยใช้อ้างอิงปิดวานนี้ พุ่งพรวดกว่า 6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยไม่สามารถปรับลดลงได้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธและพัฒนาองค์กร ปตท. ยอมรับความตึงเครียดของสถานการณ์อิหร่าน ทั่วโลกเกรงว่า หากรุนแรงมากขึ้น อาจจะทำให้การขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางผ่านชองแคบเฮอร์ มุส ลดลงร้อยละ 20-30 จนส่งผลให้ทั่วโลกขาดแคลน และอาจจะทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งขึ้นกว่า 200-300 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม จากภาวะราคาน้ำมันสูงในขณะนี้หากไม่มีการเก็งกำไรแล้ว ราคาน้ำมันดิบจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล.-สำนักข่าวไทย

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ผลกระทบของการผลิตพลังงานชีวภาพ­กับสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบของการผลิตพลังงานชีวภาพ­กับสิ่งแวดล้อม

ตามที่สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพ (bioenergy) และได้รายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบมาโดยตลอดนั้น ในการนี้ สำนักงานฯ ได้รับทราบสถานการณ์ล่าสุด เกี่ยวกับผลกระทบของการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสำนักงานฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่า มีประเด็นที่น่าสนใจและจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย สรุปได้ ดังนี้
1. การเพิ่มผลผลิตเกษตรเพื่อใช้ผลิตพลังงานชีวภาพ จากปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ส่งผลให้ความต้องการแหล่งพลังงานใหม่เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันและก๊าซที่มีอยู่ใน­ธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานชีวภาพ ซึ่ง EU พยายามผลักดันการเพิ่มกำลังผลิตพลังงานชีวภาพและพลังทดแทนจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาและจีน ในปัจจุบัน EU สนับสนุนการพัฒนาพลังงานชีวภาพ โดยมีผลผลิตที่ได้จากการเกษตร เช่น rape seed เมล็ดข้าวโพด น้ำตาลบีท ปาล์ม ฯลฯ มาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel) เพื่อใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
1.1 EU ตั้งเป้าไว้ว่า ในปี 2010 จะผลักดันให้ใช้พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพในภาคการขนส่งเท่ากับ 5.75% ของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงแบบเดิม[1] และเพิ่มขึ้นเป็น 10% ในปี 2020 ทั้งนี้เพราะภาคการขนส่งในยุโรปเป็นภาคสำคัญที่มีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากกว­่า 30% ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด และ 98% เป็นการใช้พลังงานเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่มาจากการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่[2] ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มระดับของ CO2 สู่สิ่งแวดล้อมแล้ว ราคาของพลังงานประเภทนี้ยังมีความผันผวนอย่างมากในตลาดโลก ทั้งนี้ เพื่อลดระดับการพึ่งพาการนำเข้าให้น้อยลงและลดการแพร่กระจายก๊าซที่ทำให้เกิดภา­วะเรือนกระจก (ตามข้อตกลง the Kyoto Protocol)
1.2 นาง Marianne Fisher Boel กรรมาธิการยุโรปด้านการเกษตรและพัฒนาชนบท ได้กล่าวถึงกรณีศึกษาของ DG Agriculture and Rural Development ว่า การบรรลุเป้าหมายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้ 10% ภายในปี 2010 จำเป็นต้องใช้พื้นที่ประมาณ 15% ของพื้นที่เพาะปลูก (arable land) ใน EU ทั้งหมด เพื่อปลูกพืชที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ นั่นหมายถึง ในอนาคต อาจมีการแย่งการใช้พื้นที่เกษตร ระหว่างการปลูกพืชเพื่อการบริโภคของมนุษย์ พืชเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือพืชเพื่อผลิตพลังงานชีวภาพ[3]
1.3 ในปี 2004 ความสามารถในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพภายใน EU-25 เพื่อใช้ในภาคการขนส่งผลิตได้ประมาณ 2 MtOE (Million tons of oil equivalent) หรือประมาณ 0.7% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตสูงขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ผลลัพธ์อาจจะต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2010 ที่ 18 MtOE [4]
2 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเพิ่มการผลิตพลังงานชีวภาพ จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เลือกใช้ในการปลูกพืชว่ามีการขยายตัวในเขตใด รวมไปถึงชนิดของพืชที่ปลูก และการบริหารจัดการของฟาร์มด้วย หากปัจจัยทั้งสามประเด็น มิได้มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในเขตพื้นที่ทำฟาร์มและเขตป่า รวมทั้งมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและดินด้วย
2.1 น้ำ การใช้น้ำถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำเกษตรกรรมของประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของ­ยุโรป เพราะระดับน้ำมีความไม่แน่นอนทุกปี การทดน้ำเพื่อนำไปใช้ในการทำเกษตรมากขึ้นทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำจากแหล่งที่กัก­เก็บไว้และระดับน้ำในแหล่งธรรมชาติก็มีปริมาณลดลง อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก การดึงน้ำไปใช้มากขึ้นจะส่งผลต่อระดับความเค็มของน้ำ ปริมาณความสกปรกของน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำ (wetlands) ลดลง และสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยใต้น้ำหรือในแหล่งเก็บน้ำลดลง ทั้งนี้ ในระหว่างปี 1990-2000 พบว่าพื้นที่ที่ต้องมีการทดน้ำในเขตประเทศ EU-15 เพิ่มขึ้นถึง 12% โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเมดิเตอเรเนียนซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการทดน้ำทาง­การเกษตรสูงอยู่แล้ว
2.2 การปนเปื้อนของแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน การชะล้างน้ำจากการทำเกษตรกรรมก่อให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะจากการตกค้างของไนเตรทและฟอสเฟต หรืออาจมีการปนเปื้อนของสารปราบศัตรูพืช ปัจจุบันในเขต EU-15 พบว่ามีการปนเปื้อนของไนเตรทในแหล่งน้ำผิวดินที่มาจากการทำเกษตรกรรมถึง 56%[5] ประเทศที่มีปัญหาความเข้มข้นของไนเตรทในแหล่งน้ำ (แม่น้ำ) ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของ EU แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ก็มีปัญหาดังกล่าวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
2.3 ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของการทำเกษตรกรรม จากการเพาะปลูกพืชแบบดั้งเดิม ไปสู่การปลูกพืชที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงมีอัตราที่เพิ่มขึ้น (เช่น เน้นการปลูก rape seed อย่างเดียวเพื่อใช้ในการผลิตพลังงาน Biodiesel) หรือการเปลี่ยนจากพื้นที่ทุ่งหญ้า (grassland) ไปเป็นพื้นที่เพาะปลูก (arable land) ได้ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่เพาะปลูกในเขตนั้น ดังจะเห็นได้ว่า ปริมาณ rape seed ในปี 2005 ของประเทศEU-25 อยู่ที่ 15.5 ล้านตัน (สูงขึ้นถึง 28% จากค่าเฉลี่ยใน 5 ปีที่ผ่านมา) โดยใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 4.8 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน 5 ประเทศ ดังนี้ เยอรมนี (1.35 ล้านเฮกตาร์) ฝรั่งเศส (1.21 ล้านเฮกตาร์) สหราชอาณาจักร (0.6 ล้านเฮกตาร์) โปแลนด์ (0.55 ล้านเฮกตาร์) และสาธารณรัฐเชค (0.27 ล้านเฮกตาร์)[6]
2.4 การกัดเซาะของดิน และความแข็งตัวของดิน ผลจากการทำการเกษตรอย่างหนาแน่นทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะของดิน (soil erosion) นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการไถดิน การใช้ปุ๋ยคอกและการเก็บเกี่ยว ทำให้ดินเกิดความแข็งตัว (soil compaction) ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โครงสร้างของดินและปริมาณการอุ้มน้ำของดิน
2.5 ก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการเพาะปลูก การไถพื้นที่ทุ่งหญ้า (permanent grassland) เพื่อเตรียมเพาะปลูกพืชที่นำไปผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้เกิดการปลดปล่อยของก๊าซคาร์บอนจากดิน ซึ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายของการ­ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อลดปัญหาการกระจายของก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์จากการใช้เช­ื้อเพลิงฟอสซิล
3 อนาคตของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ความต้องการพลังงานชีวภาพที่เพิ่มขึ้นในอนาคตย่อมนำไปสู่การปลูกพืชเพื่อใช้ผลิ­ตเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งเน้นอยู่เพียงไม่กี่ชนิด อย่างไรก็ดี หากปราศจากการควบคุมที่ดี ย่อมส่งผลกระทบในแง่ลบกับสิ่งแวดล้อมดังที่กล่าวมา แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีการทำเกษตรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (environmentally-compatible) จะเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้กับธรรมชาติ โดยไม่ทำลายแหล่งทรัพยากรน้ำและดิน ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้โดย
3.1 ปลูกพืชที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพหลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของพืชในบริเวณนั้น โดยเลือกปลูกพืชที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น perennials และ annual crops เลือกปลูกพืชที่ให้ผลผลิตสูง บริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อเฮ­กตาร์ให้มากขึ้น
3.2 หลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ grassland หรือ dehesas ไปเป็นพื้นที่ปลูกพืชที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ทั้งนี้ หากต้องมีการไถดินในบริเวณนั้นจะเป็นการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่อากาศและส่งผลกร­ะทบต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมอันจะทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพหมดไป รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ (wetland) เป็นแหล่งเพาะปลูกเช่นกัน เพราะพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนตามธรรมชาติ
3.3 หลีกเลี่ยงการปลูกพืชในพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องผันน้ำที่มากขึ้น หรือจำเป็นต้องใช้สารปราบศัตรูพืช ปุ๋ย หรือการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่
3.4 ในอนาคต อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีการออกมาตรการที่กำหนดว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลั­งงานทดแทนต้องสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ (traceable) และสามารถรับประกันแหล่งที่มา (Guarantee of origin) เพื่อเป็นการรับรองว่าการผลิตวัตถุดิบนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อป่าไม้ เขตธรรมชาติที่มีการปกป้องหรือเกิดจากการเปลี่ยนพื้นที่ทุ่งหญ้า[7]
3.5 พยายามพัฒนาการใช้แหล่งวัตถุดิบอื่นนอกเหนือจากผลผลิตเกษตรในการผลิตเชื้อเพลิง­ชีวภาพให้มากขึ้น เช่น การใช้ของเสีย (waste) ที่มาจากการเกษตร ป่าไม้ อุตสาหกรรมหรือครัวเรือน นอกจากทำให้เกิดผลดีด้านเศรษฐกิจเพราะใช้ของเสียมาผลิตเป็นพลังงานชีวภาพแล้วยั­งไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
3.6 ต้องมีการคิดค้นพัฒนาการค้นหาแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพแหล่งใหม่อื่นๆ (second generation of biofuels) ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและก่อให้เกิดสารคาร์บอนไดอ๊อกไซด์น้อยกว่าเชื้อเพล­ิงชีวภาพที่ใช้ในปัจจุบัน
ในเรื่องนี้ สำนักงานฯ ขอเรียนข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้
ก) ผลการศึกษาของ EEA แสดงให้เห็นว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ประเทศสมาชิกยุโรป EU-25 สามารถผลิตพลังงานชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนได้เพียงพอกับที่ EU ตั้งเป้าหมายไว้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ภายใต้เงื่อนไข environmental-compatible โดยคาดว่าจะสามารถผลิตพลังงานชีวภาพได้ 190 MtOE[8] ในปี 2010 และประมาณ 295 MtOE ในปี 2030 ในขณะที่เป้าหมายตั้งไว้ใน Biomass Action Plan ต้องการให้มีการใช้พลังงานทดแทนเทียบเท่ากับพลังงานชีวภาพประมาณ 150 MtOE ในปี 2010 และ 230-250 MtOE ภายหลังปี 2010
ข) ประเทศสมาชิกยุโรปส่วนใหญ่จะเน้นทำการเกษตรเพื่อใช้ผลิตอาหารมากกว่าวัตถุประสง­ค์อื่น แต่จากนโยบายของ EU ที่สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานชีวภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคการขนส่ง ย่อมจะส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมหันมาผลิตพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง­ชีวภาพเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าจากการศึกษาข้างต้น ประเทศสมาชิกยุโรปมีศักยภาพในการผลิตพืชพลังงานได้เพียงพอกับความต้องการแล้ว หากแต่ภายใต้การแข่งขันในระดับโลก ประเทศสมาชิก EU จำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตวัตถุดิบของเชื้อเพลิงชีวภาพมิให้สูงมากเกิน­ไป รวมถึงต้องเป็นการทำเกษตรแบบยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับสภาพสังคมเศรษฐกิจด้วย
ค) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่เศรษฐกิจยังขึ้นอยู่กับสินค้าเกษตรแต่ประสบ­ปัญหาด้านราคา อาจหันมาผลิตพืชใช้ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกำลังพัฒนามีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตเมื่อเทียบกับยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างงานในภาคชนบท ทำให้เกิดรายได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพควรได้รับการควบคุมและวางแผนอย่­างมีระบบจากรัฐบาล เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ง) เห็นควรแจ้งกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ติดตามการพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพของ EU อย่างใกล้ชิด รวมทั้งศึกษาช่องทางและโอกาสการขยายการปลูกพืชที่มีศักยภาพของไทยที่สามารถผลิต­เชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งภายในประเทศและการส่งออกสินค้าเชื้อเพลิงชีวภาพของไทยใน EU ในอนาคตต่อไป

10 Things You Can Do to Reduce Global Warming



10 Things You Can Do to Reduce Global Warming

ลดการใช้ถุงพลาสติกในการจับจ่ายซื้อของ หันมาพกถุงผ้า ช่วยโลกกันดีกว่า แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้มันจริงๆ ก็อย่าลืมนำกลับมารีไซเคิลสำหรับโอกาสต่อไปด้วยล่ะ
ปิดสวิทซ์หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้ จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 พันปอนด์ต่อปี
เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดประหยัดพลังงานแบบขด เพราะจะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปี
มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น เพราะการจะได้ใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์จะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ
ร่วมประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool ชักชวนเพื่อนๆ หรือ คนบ้านใกล้เรือนเคียงนั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน หรือ เลือกเดินทางจากบริการขนส่งมวลชนแทน ช่วยลดการ ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อม
หันมาใช้พลังงานทางเลือก เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าบางจุด
สร้างนโยบาย 3Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด
ช่วยปลูกต้นไม้ 1 ต้น จะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน
บริโภคเนื้อวัวให้น้อยลง ทานผัก (ปลอดสารพิษ) ให้มากขึ้น ฟาร์มเลี้ยงวัวคือแหล่งหลักในการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ บรรยากาศ
ร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมในชุมชน กระตุ้นให้เกิดการร่วมมือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขอบคุณ Msn มากค่ะ