วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทานวิตามินเกินกำหนด ก่อให้เกิดโทษ

การทานวิตามินนั้นมีประโยชน์ แต่ถ้าทานมากจนเกิดกำหนดก็ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายด้วยเช่นกัน วันนี้มีความรู้เรื่องนี้มาฝากกัน...



วิตามินโดยทั่วไป หากทานมากเกินไป ไม่มีอันตราย ร่างกายจะขับออกมา แต่มีวิตามินบางชนิด หากได้รับมากเกินไป จะต้องได้รับสารอื่นพ่วงด้วย เช่น วิตามิน C หากได้รับมากเกินไปก็จะมีแร่ทองแดงพ่วงมาด้วยตัวอย่างวิตามิน A หากได้มากกว่า 25000 IU จะทำให้ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวแห้ง คันและผมร่วง ตับม้ามจะโต ปวดกระดูกวิตามิน D หากได้มากเกิน 50000 IU จะทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องร่วง น้ำหนักลดและมีพิษต่อตับวิตามิน C โดยทั่วไปไม่มีพิษ แต่หากได้เกิน 1 กรัม จะทำให้เกิดคลื่นไส้ ท้องร่วง ตะคริวและเกิดนิ่วที่ไต ธาตุเหล็ก หากได้รับขนาดสูง จะระคายกระเพาะและท้องผูกรู้อย่างนี้แล้ว ก็ควรทานวิตามินให้พอเหมาะ จะได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง.
spac_writeAd("/site=sanook.com/area=sanook.campus.teenzone/position=pos.center1/aamsz=text/method=jscript", 52);
ผลัดผิวสวย เรียบขาวโดยไม่ต้องทำศัลยกรรม www.sammiesandybeauty.com ขจัดฝ้า กระ สิว หลุมสิว แผลเป็น รอยแตกลาย ภายใน 3-7 วัน

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

เล็กๆ น้อยๆ กับคำว่า "ทำไมถึงไม่อ้วน



จิ๊กดีใจที่หลายคนมักชอบเดินมาทัก "คุณจิ๊กไปทำอะไรมาถึงได้หุ่นดีจัง ไม่อ้วนเลย ขนาดมีเจ้าตัวน้อยเดินตามติดๆ ถึง 2 คนแล้วนะเนี่ย"เมื่อก่อนจิ๊กไม่ได้คิดอะไรหรือต้องคอยระวังว่าควรจะทานอาหารอะไรดี เดี๋ยวอ้วนนะ จนเมื่อจิ๊กทำงานมากๆ จึงได้ศึกษาและมีความรู้ว่า ในผลไม้หลายอย่างมีสารอาหารที่สามารถทดแทนในสิ่งที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสามารถทำให้ร่างกายแข็งแรง รวมถึงทำให้เราไม่อ้วนด้วยปกติจิ๊กก็เป็นชอบทานผลไม้อยู่แล้ว ไม่ค่อยทานขนมจุ๊บจิ๊บหรอก และบ่อยครั้งที่เวลาเกิดอาการหิวข้าวขึ้นมาก็มักนึกถึงผลไม้แทนอาหารซึ่งมีคุณค่าเหมือนกันหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าผลไม้ที่เราชอบทานนั้นมีประโยชน์อะไร ในขณะที่เวลาจิ๊กชอบทานอะไรแล้วก็ต้องคอยดูเสมอว่าสิ่งที่เราทานนั้นมีประโยชน์เช่นไรบ้าง (คอนเซ็ปต์ส่วนตัวคือ ต้องอร่อย+อิ่ม+มีประโยชน์) ที่ชอบม๊ากมากเลย คือ "กล้วยน้ำว้า" ค่ะ ถึงขนาดต้องมีติดไว้ในห้องนอน และรถยนต์ ทานครั้งละ 2-3 ผล เวลาเกิดหิวขึ้นมาในชั่วโมงเร่งด่วน ที่ไม่สามารถจะมาเสียเวลานั่งรับประทานอะไรเป็นเรื่องเป็นราวได้จริงๆ กล้วยนั้นมีประโยชน์ตั้งแต่มันยังเขียวอยู่เลย กล้วยดิบเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องขึ้น ส่วนผลที่สุกก็เป็นยาระบายได้อย่างดี และยังมีสารไฟเบอร์ (เส้นใยกากอาหาร) ซึ่งให้ผลดีหลายอย่างทางการแพทย์มีการวิจัยกันออกมาแล้วว่าสารไฟเบอร์นั้นมีผลในการลดคอเลสเตอรอล และลดการเสี่ยงจากมะเร็งหลายชนิด รวมถึงโรคหัวใจ และโรคเบาหวานด้วย เนื่องจากเมื่อมีสารไฟเบอร์มาก สารจะควบคุมน้ำตาลในเลือดให้เรานอกจากนี้ยังมีผลดีที่สำคัญมากๆ คือ ทำให้เราออกห่างจาก "โรคอ้วน" เพราะไฟเบอร์ที่ละลายจะเคลือบผิวกระเพาะอาหาร และทำปฏิกิริยากับกรด ทำให้เกิดสารเจลาติน ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มนาน ความอยากอาหารก็จะลดลง เป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกิน แค่นั้นยังไม่พอ (ขออีกนิดนะคะ) กล้วยยังมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน เกลือแร่ ฯลฯ จิ๊กทดลองกับตัวเองแล้วก็ได้ผลจริงๆ ไม่มีเซลลูไลท์ใดๆ หลงเหลืออยู่ในร่างกายเลย และไม่อ่อนเพลียผลไม้ที่จิ๊กชอบทานอีกอย่างก็คือ "แอปเปิ้ล" มีรสอร่อย และยังมีสารอาหารคล้ายๆ กันกับกล้วย แต่แอปเปิ้ลยังมีของดีอีกอย่าง คือสามารถชำระควัน หรือสารพิษที่เราได้รับจาควันรถยนต์ทุกวันด้วยแต่การจะทานผลไม้ให้ได้ผลดีที่สุด มันก็ต้องมีเคล็ดลับเหมือนกัน สำหรับเคล็ดลับพิเศษของจิ๊กนั้นก็คือเมื่อตื่นนอนขึ้นมาจิ๊กจะทานผลไม้เป็นอาหารมื้อแรก เพื่อเป็นการชำระสิ่งตกค้างหรือสารพิษ ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารเมื่อวานนี้ จริงๆ แล้วจิ๊กเป็นทานอาหารมาก กินอย่างกับปล้นเลยทีเดียว ถ้าไม่เชื่อไปถามคนที่สนิทได้ แต่จะไม่เคยอึดอัด หรือท้องผูกเลยเนื่องจากใช้วิธีที่บอกส่วนเรื่องการออกกำลังกายมีผลหรือไม่ในการทำให้ไม่อ้วน จิ๊กก็ว่ามีส่วนเหมือนกัน เพราะร่างกายของเราได้นำสิ่งที่เราทานไปใช้ จึงไม่มีอะไรสะสมมากและทำให้ไม่อ้วนเลย การออกกำลังกายของจิ๊ก ไม่ได้เจาะจงว่าต้องออกเวลาไหน หรือไปนังฟิตเนสใด เพราะทุกวันจิ๊กจะออกกำลังกายตามธรรมชาติจริงๆ เช่น อุ้มลูกน้อยของจิ๊กค่ะ (ติดแม่จัง เดี๋ยวอุ้มหน่อยๆ)การขึ้นลงบันไดบ้านที่มีอยู่ 5 ชั้น วันละหลายรอบหลายครั้ง โดยไม่ใช้ลิฟต์ก็ได้ผลดีหลายข้อ ข้อแรกคือประหยัดไฟ (โครงการประหยัดพลังงานหาร 2) และข้อสองคือได้ต้นขาที่ FIT & FIRM ถ้าไม่เชื่อก็ต้องแอบดูขาจิ๊กเอาละกัน ที่สำคัญจิ๊กเป็นคนชอบทำงานลุยทุกที่ เพราะฉะนั้นจึงได้ออกกำลังกายอยู่ตลอดเห็นไหมคะว่าการจะมีรูปร่างดีได้นั้นไม่ใช่เรื่องยาก มีวิธีง่ายๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่ทุกคนก็สามารถทำได้ แค่ลุกออกจากเก้าอี้มาทำอะไรที่เป็นประโยชน์ เช่น ปลูกต้นไม้ พรวนดิน รดน้ำ สักครึ่งชั่วโมงก็ถือว่าออกกำลังกายแล้วแต่ทำอย่างนี้ทุกวันอาจจะต้องระวัง ระวังแล้วกันถ้ามีคนทักคุณว่า "เธอทำอะไรมา ทำไมไม่อ้วนเหมือนเดิม" "เธอไปทำอะไรมาถึงหุ่นดีขึ้น"ระวังจะยิ้มรับไม่ทันค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Cacao


Cacao




Cacao (Theobroma cacao) (Mayan: kakaw, Nahuatl: Cacahuatl), or the cocoa plant, is a small (4–8 m or 15–26 ft tall) evergreen tree in the family Sterculiaceae (alternatively Malvaceae), native to the deep tropical region of the Americas. There are two prominent competing hypotheses about the origins of the original wild Theobroma cacao tree. One is that wild examples were originally distributed from southeastern Mexico to the Amazon basin, with domestication taking place both in the Lacandon area of Mexico and in lowland South America. But recent studies of Theobroma cacao genetics seem to show that the plant originated in the Amazon and was distributed by humans throughout Central America and Mesoamerica. Its seeds are used to make cocoa and chocolate.
The tree is today found growing wild in the low foothills of the
Andes at elevations of around 200–400 m (650-1300 ft) in the Amazon and Orinoco river basins. It requires a humid climate with regular rainfall and good soil. It is an understory tree, growing best with some overhead shade. The leaves are alternate, entire, unlobed, 10–40 cm (4-16 in) long and 5–20 cm (2-8 in) broad.

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

วันรพี

วันรพี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

พระองค์ทรงสมภพเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2417 เป็นพระราชโอรสองค์ที่14 ในพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) กับ เจ้าจอมมารดาตลับ

การศึกษาและหน้าที่การงาน

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกที่สำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อยอาจารยางกูร) จากนั้นทรงศึกษาภาษาอังกฤษขึ้นต้นในสำนักครูรามสามิแล้วไปศึกษาภาษาไทยต่อที่สำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่นเปรียญ) และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบโดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นอาจารย์ผู้สอน ต่อมาในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๒๗ เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๑๐ ชันษา ทรงเข้าพิธีโสกันต์ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธออีก ๓ พระองค์ คือ พระองค์เจ้ากิตติยากรวรลักษณ์กรมพระจันทบุรีนฤนาท พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดมกรมหลวงปราจิณกิติบดีและพระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดชกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ในปีถัดมาทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยในระหว่างที่ทรงผนวชแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง ๒๒ วัน แต่ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่เหนือกว่าบุคคลทั่วไปเมื่อทรงจำพระวินัยสงฆ์ได้อย่างแม่นยำชนิดพระสงฆ์ที่บวชเรียนมาแล้วหลายพรรษา ก็ยังไม่สามารถท่องจำวินัยสงฆ์ได้แม่นยำเช่นพระองค์ท่าน หลังจากที่ทรงลาผนวชแล้ว เสด็จไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมัธยมกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๓ ปีเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้วทรงสอบเรียนต่อกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ ๑๔ ชันษา แต่ทางมหาวิทยาลัยไม่ยอมให้ทรงเข้าศึกษาต่อ เนื่องจากติดข้อบังคับที่ว่าอายุไม่ถึง ๑๘ ปีแต่ก็มิได้ย่อท้อ เสด็จไปขอร้องเป็นกรณีพิเศษต่อทางมหาวิทยาลัยว่า "คนไทยเกิดง่ายตายเร็ว" จนทางมหาวิทยาลัยยินยอมให้สอบอีกครั้ง ซึ่งก็ทรงสอบได้และได้ศึกษาต่อจนจบหลักสูตรปริญญาตรีด้านกฎหมายชั้นเกียรตินิยม โดยใช้เวลาศึกษาเพียงแค่ ๓ ปี จากปกติที่ต้องใช้เวลาเรียนถึง ๔ ปี นับเป็นบัณฑิตที่มีอายุน้อยที่สุดด้วยพระชนม์แค่ ๑๗ ชันษาจากนั้นเมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยทรงเข้ารับราชการที่กรมราชเลขานุการ ได้ใช้พระปรีชาสามารถ พระสติปัญญาและพระวิริยะอุตสาหะในการทำงานเป็นอย่างมาก ในไม่ช้าก็ทรงสามารถทำงานได้ทุกตำแหน่งในกรม จนเป็นที่ยกย่องของข้าราชการในกรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นเลิศในการร่างพระราชหัตถเลขาได้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งนัก ถึงขนาดที่ทรงเรียกพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ว่า "เฉลียวฉลาดรพี" พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ในขณะเดียวกันทรงมีตำแหน่งเป็นสภานายกพิเศษจัดตั้งศาลมณฑลและศาลเมือง (ศาลจังหวัด) ขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ โดยทรงจัดตั้งศาลหัวเมืองในมณฑลอยุธยาขึ้นเป็นแห่งแรกแม้ในช่วงนั้นจะมีคดีความในศาลคั่งค้างอยู่มาก แต่ก็ทรงตัดชำระความด้วยพระองค์เองจนเสร็จสิ้นภายในเวลาอันรวดเร็วได้อย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม จนเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทุกคน


รับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม

จากนั้นพระองค์ก็ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่มีพระชนม์มายุเพียง 22 ชันษาเท่านั้น พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบศาล และงานยุติธรรมของประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าเท่าทันต่างประเทศ นับว่าพระองค์ทรงเป็นเสนาบดีที่ทรงมีพระชนมายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย
ใน พ.ศ. 2440 พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยยืมสถานที่ของกระทรวงยุติธรรมเป็นสถานที่สอน ในการดำเนินการสอนของพระองค์ท่านได้ประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายนัก พระองค์จึงทรงต้องคัดเลือกและสอนนักเรียนเองทุกวิชา แต่พระองค์ก็ไม่เคยย่อท้อแม้แต่น้อย จนกระทั่งปลาย พ.ศ. 2440 จึงเปิดให้สอบไล่ในระดับชั้นเนติบัณฑิตเป็นครั้งแรก เพื่อให้เนติบัณฑิตเหล่านี้ได้นำสิ่งที่เรียนมาไปแบ่งเบาภาระของพระองค์


กรมการร่างกฎหมาย
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองไทยเป็นที่รู้กันว่าชาวต่างพวกนี้มีอำนาจอิทธิพลมาก เวลาเกิดคดีความ ข้อโต้แย้งขึ้นมาก คนไทยมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็นข้ออ้างเอาเปรียบคนไทยซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆในเวลานั้น พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษาชากฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้นศาลไทยในส่วนการแก้ไขตัวบทกฎหมายนั้น ได้ทรงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการ ตลอดจนจัดระเบียบกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานานจนล้าสมัย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาและเข้าใจตัวกฎหมายได้ง่ายขึ้น และเพื่อสะดวกต่อการพิจารณาคดีทั้งปวง คณะกรรมการชุดที่ว่านี้ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ โดยทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการเองการยกเครื่องกฎหมายในครั้งนั้นกล่าวได้ว่า ทรงเป็นหัวเรือใหญ่ในการร่างกฎหมายอย่างแท้จริง จนประสบความสำเร็จเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก ซึ่งต่อมาเมื่อมีการประกาศการใช้กฎหมายแล้ว ยังได้ทรงเขียนอธิบายตัวบทกฎหมายให้มีความเข้าใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อสะดวกต่อการศึกษา และให้เกิดการตีความตรงกับเจตนารมณ์ของผู้ร่างอันถือเป็นรากฐานสำคัญของการก่อตั้งวิชานิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในปัจจุบันต่อมาคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ตรากฎหมายขึ้นมาใช้อีกหลายฉบับจนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นกรมร่างกฎหมายและพัฒนากลายมาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในทุกวันนี้ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการในศาลกรรมการฎีกาหรือศาลฎีกาในปัจจุบัน มีหน้าที่คอยตรวจตัดสินความฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุดของประเทศ "ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ" จะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งเสนาบดี ๑๔ ปีได้ทรงปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มพระกำลังสามารถและมีพระวิริยะอุตสาหะในการทำงานมาโดยตลอด โดยไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคและความเหน็ดเหนื่อย


สิ้นพระชนม์
ในวันที่ 7 ส.ค.2463 พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ ซึ่งในวงการนักกฎหมายได้ถือเอาวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยใช้ชื่อว่า วันรพี

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9


พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9







สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ บิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ที่ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเชษฐาและพระกนิษฐภคินี รวม 3 องค์คือ
1. หม่อมราชวงศ์ กัลยาณกิติ์ กิติยากร
2. หม่อมราชวงศ์ อดุลยกิติ์ กิติยากร
3. หม่อมราชวงศ์ บุษบา กิติยากร












หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เติบโตขึ้นมาในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงทำให้ต้องอยู่ไกลจาก พระบิดามารดาในตอนแรก โดยได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประทับ ที่จังหวัดสงขลา ในปี 2476
ต่อมา เมื่อหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ มีอายุได้ 5 ขวบ ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรก ในชั้นอนุบาลที่โรงเรียน ราชินี เมื่อปี 2480 และเมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้แผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ถูกโจมตีทางอากาศบ่อยครั้ง ทำให้การคมนาคม ขาดความสะดวกและปลอดภัยหม่อมเจ้านักขัตรมงคล จึงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ ในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา เพราะอยู่ใกล้บ้าน และที่นี่หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ ได้เริ่มเรียนเปียโน ซึ่งสามารถเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจาก ความสามารถทางด้าน ภาษาต่างประเทศคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สงบลง รัฐบาลไทยซึ่งขณะนั้นมี พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทูลขอให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสำนักเซ็นต์เยมส์ ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2489 โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส กับครูพิเศษ ควบไป กับการเรียนเปียโน ต่อมาไม่นานนัก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ประจำประเทศเดนมาร์กและต่อไปที่ประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงเรียนเปียโนเพื่อหาโอกาส เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรี ที่มีชื่อของกรุงปารีส และที่ประเทศฝรั่งเศสนี้เองที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วและ เสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์) ซึ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จาก สวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์ แทนคันเดิมที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลานาน และการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงอยู่บ่อยครั้ง และในระหว่าง ที่เสด็จฯ มายังกรุงปารีส ก็จะทรง ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่น
และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เองก็สนใจและรอบรู้เข้าใจ ในศิลปะการดนตรีเป็นอย่างดี ทำให้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย จนกลายเป็น ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในที่สุด
ในปี 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และทรงเข้ารับ การรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล โดยมีหม่อมหลวงบัว และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สวิสเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนี ได้ทรงรับเป็นธุระ จัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาใน Pensionnat Rinate Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ของโลซานน์ จนเมื่อหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจาก อาการประชวรแล้ว ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492
ภายหลังจากพิธีหมั้นผ่านไป หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงศึกษาอยู่ต่อจนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เสด็จฯนิวัติพระนคร จึงทรงโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จ พระราชดำเนินกลับมาด้วย เพื่อร่วม ในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม 2493
ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกันนั้น ทรงโปรดให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ ครั้นเมื่อ มีพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงรักษาพระองค์ และทรงศึกษาต่อ และได้เสด็จฯ กลับมาประทับที่ประเทศไทยในปี 2495
ในปี 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกบรรพชาตามโบราณราชประเพณีเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน ในระหว่างที่ผนวชอยู่นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้เฉลิมพระอภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ 5 ธันวาคมศกนั้น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม 4 พระองค์คือ
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาล มองซัวซี นครโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจาก ฐานันดรศักดิ์ เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูล กิตติสิริสมบูรณ์ สว่างควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมาในปี 2515 ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมุฏราชกุมาร
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่ง นับตั้งแต่วันที่ทรงเข้าสู่พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเป็นต้นมา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น ในฐานะภรรยา ด้วยการถวายความจงรักภักดี เอาพระทัยใส่ ถวายการปรนนิบัติต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจน ทรงเป็นกำลังพระราชหฤทัย ให้พระราชสวามี เสมอตลอดมา หรือ ในฐานะแม่ ก็ทรงอบรม เลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยความเอาพระทัยใส่ยิ่ง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ในฐานะพระบรมราชินีของประชาชนชาวไทยโดยในระยะแรกมักจะเป็นการ ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปในการพระราชพิธีต่างๆ รวมทั้งได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามที่ทรงได้รับการแต่งตั้งในระหว่างที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชได้เป็นอย่างดี สมกับที่ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะโดยเสด็จฯ เคียงข้างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทยไม่ว่าจะเป็นในด้านการ ศึกษา การศาสนา การรักษาไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรมของชาติ หรือการสร้างและรักษาสัมพันธภาพ กับนานาประเทศ
นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชดำริ และพระราโชบายสอดคล้องต้องกันกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะยกระดับฐานะ ความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น โดยในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มก่อตั้งโครงการหลวง ต่าง ๆ ขึ้น สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ก็ทรงริเริ่มโครงการ ให้ราษฎร โดยเฉพาะสตรีชาวนา ในท้องที่ชนบททำอาชีพเสริม โดยการใช้เวลาว่างจากการทำนาทำไร่ มาทำหัตถกรรมในครัวเรือนด้วยการนำเอาวัสดุที่หาง่าย และมีอยู่แล้วในท้องถิ่นนั้น มาประดิษฐ์เป็น สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งโครงการอาชีพเสริมนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับราษฎรแล้ว ยังเป็นการรักษา งานศิลปะหัตถกรรมของไทย ให้คงอยู่กับชาติไทยต่อไป
ต่อมาเมื่อโครงการมีผลงานปรากฏออกมากว้างขวางมากขึ้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง เป็นรูปของมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2519
ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อของมูลนิธิ เป็น มูลนิธิศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี 2528 โครงการมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษฯ นี้แบ่งการช่วยเหลือราษฎรออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. การส่งเสริมสนับสนุนงานฝีมือที่ชาวบ้านทำเป็นอยู่แล้วในหมู่บ้าน เช่น การทอผ้าไหมมัดหมี่ การทำกระเป๋าย่านลิเพา การทอเสื่อกระจูด เป็นต้น
2. การฝึกอบรมให้ชาวบ้านทำงานฝีมือที่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน เช่น การปั้นตุ๊กตาชาววัง การทำดอกไม้ ประดิษฐ์ การทอผ้าฝ้าย การเป่าแก้ว การทำเครื่องถมทองและการจักสาน และอื่น ๆ
ทั้งนี้ ได้ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นกองทุนเริ่มต้นสำหรับ จัดหาผู้เชี่ยวชาญไปช่วยทำการฝึกสอนให้กับราษฎร พร้อมกับวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ทรงเสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียน และติดตามความก้าวหน้า พร้อมกับพระราชทานคำแนะนำ และกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการ ในโครงการฯ อยู่เสมอมิได้ขาด กับทรงเอาเป็นพระราชธุระในการจัดหาตลาดสำหรับจำหน่ายสินค้า เหล่านี้อีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงเป็นแบบอย่างในการส่งเสริม และรักษางานศิลปะหัตถกรรมของไทย ให้แพร่หลาย ทั้งในหมู่คนไทย และชาวต่างชาติ โดยจะทรงฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บด้วยผ้าพื้นเมืองของ ไทย เช่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าปักชาวเขา ฯ และทรงใช้กระเป๋าถือ ที่ทำมาจากย่านลิเพา เป็นต้น
นอกเหนือไปจากงานศิลปาชีพพิเศษแล้ว ในด้านการสาธารณสุข สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ผู้ทรงดำรงตำแหน่ง องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ก็มักจะพระราชทานพระราชดำริในการจัดหาเงินรายได้บำรุงสภา กาชาดไทยเป็นประจำทุกปี และจะทรงเสด็จฯ ไปในการพระราชทานเข็มที่ระลึก แก่ผู้บริจาคโลหิตครบ ตามที่สภากาชาดกำหนดอย่างสม่ำเสมอ (ในระยะหลัง ๆ นี้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จฯ แทนพระองค์ เนื่องจากทรงมี ปัญหาทางด้านพระพลานามัย)และถ้าหากเสด็จฯเยือนต่างประเทศ ก็จะทรงถือโอกาส เสด็จฯ ทอดพระเนตร กิจการกาชาดของประเทศนั้น ๆ เพื่อทรงนำมาปรับปรุงกิจการสภากาชาดไทย ให้ก้าวหน้าทัดเทียม
สำหรับพระราชกรณียกิจทางด้านการทหารนั้น โดยที่ทรงดำรงตำแหน่งพันเอกผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระอค์ จึงทรงให้ความสนพระราชหฤทัยต่อการดำเนินงานของกรม ทหารราบที่ 21 รอ.ตลอดมา โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 จะเข้ามาถวายรายงานถึงผลการ ปฏิบัติงาน พร้อมกับรับพระราชเสาวณีย์ ตลอดจนคำแนะนำ ไปดำเนินการปฏิบัติ อยู่เป็นประจำ ทั้งยังทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้นำไปใช้ในด้านสวัสดิการของทหารในบังคับบัญชา ของพระองค์ด้วย
ไม่เพียงแต่ประชาชนชาวไทยเท่านั้น ที่จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ ผู้อพยพลี้ภัยสงคราม จากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายแดนของประเทศไทย ก็มีโอกาสได้รับ พระเมตตาคุณจาก พระองค์ด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยไปให้ความร่วมมือกับ กาชาดสากล ในการช่วยเหลือผู้อพยพ ทั้งทางด้านที่อยู่ อาหารและการสาธารณสุข กับทรงพระราชทานครูเข้าไปสอน วิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ ให้รู้จักประกอบอาชีพ เพื่อเป็นประโยชน์ เมื่อถูกส่งไปอยู่ยัง ประเทศที่สามแล้ว และ เมื่อมีโอกาส ก็จะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เพื่อทรงประจักษ์ด้วยพระองค์เองว่า ผู้อพยพ ซึ่งเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ได้รับความช่วยเหลือให้มีความเป็นอยู่ดีตามสมควรแล้วหรือไม่ จากการที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงทุ่มเท พระวรกาย และพระสติปัญญา ปฏิบัติพระราชกิจ เพื่อให้ราษฎรของพระองค์ สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กับได้พระราชทาน ความช่วยเหลือ ให้แก่ผู้อพยพลี้ภัย ที่ทรงถือว่า เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และไม่ละเว้นไปถึงสัตว์น้อยใหญ่ ที่พลอยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ด้วย ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ทำให้องค์กรระหว่างประเทศ หลายองค์กร ต่างพากันยกย่องสรรเสริญ โดยการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ และใบประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ อาทิ ขอพระราชทานพระนามาภิไธยของพระองค์ ไปเป็นชื่อของดอกไม้ พันธุ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ เหรียญเซเรส เหรียญทองโบโรพุทโธ รางวัล ยูนิเฟม อะวอร์ด ออฟ เอ็กเซลเล้น เป็นต้น เพื่อเป็นการสดุดีเฉลิมพระเกียรติ ในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ให้เป็นที่แพร่หลาย กว้าง ขวางต่อไปอีกด้วย ปัจจุบันนี้แม้จะทรงเจริญพระชนมายุมากกว่า 71 พรรษาแล้ว ทั้งยังทรงมีพระพลานามัย ที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จนต้องทรงงดออกงาน ที่ต้องหักโหมพระวรกายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังทรงเป็นห่วง เป็นใยราษฎรของพระองค์ และมิได้ทรงหยุดปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร ชาวไทยแต่ประการใด

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เปิดประวัติ น้องเก๋ ประภาวดี ฮีโร่โอลิมปิกคนใหม่


เปิดประวัติ น้องเก๋ ประภาวดี ฮีโร่โอลิมปิกคนใหม่
ประเทศไทยมี "ฮีโร่โอลิมปิก" คนใหม่ ชื่อ ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล จอมพลังสาวนักยกน้ำหนักทีมชาติไทย หลังจากสาวจากเมืองปากน้ำโพคว้าเหรียญทองยกน้ำหนัก ในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 29 มาครองได้สำเร็จ แต่เส้นทางสู่ความสำเร็จไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากปราศจากความมุมานะ บากบั่น ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กที่เธอยกเสียอีก






"น้องเก๋" ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ชื่อเดิม จันทร์พิมพ์ กันทะเตียน เป็นบุตรสาวของ นายจันทร์แก้ว กันทะเตียน และ นางราศรี ทัดทอง เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 ที่ จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันอายุ 24 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ก่อนมาเป็นบัณฑิตสาวจากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาโท ที่สถาบันแห่งเดียวกัน เด็กสาวที่ชื่อ จันทร์พิมพ์ เล่นยกน้ำหนักครั้งแรก ในปี 2537 มี อ.สมชาติ แสงน้อย และ อ.ประทีป แสงน้อย เป็นโค้ชคนแรก ก่อนเข้าสังกัด สโมสรถาวรฟาร์ม ของ จังหวัดนครสวรรค์ กีฬายกน้ำหนักเป็นกีฬาที่ไม่สนุก และต้องใช้ความอดทน มุมานะอย่างสูง เรื่องของความสวยงามที่สตรีเพศทุกคนใฝ่หานั้นไม่ต้องพูดถึง และกว่าที่จันทร์พิมพ์ จะสามารถก้าวขึ้นถึงทีมชาติ ต้องรอคอยกระทั่งถึงปี 2544

ในเว็บไซต์ของ ม.นอร์ท-เชียงใหม่ กล่าวยกย่อง จันทร์พิมพ์ ในฐานะนักศึกษาทุน 100% ประเภทนักกีฬา ว่า "น้องเก๋" ไม่เคยท้อต่ออุปสรรค ด้วยเพราะต้องเป็นเสาหลักของครอบครัว และเงินที่ได้รับจากการแข่งขันทุกครั้งได้นำมาดูแลครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างยากจน จนปัจจุบันความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้นมาก แต่จันทร์พิมพ์ยังมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กีฬายกน้ำหนักอยู่เสมอ ความผิดหวังครั้งสำคัญของ จันทร์พิมพ์ เกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน ในการคัดเลือกเป็นตัวแทนทีมชาติเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ที่ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในรุ่น 53 กิโลกรัมหญิง โดยสมาคมยกน้ำหนักแห่งประเทศไทย ตัดสินใจส่ง "น้องอร" อุดมพร พลศักดิ์ เป็นผู้ที่ได้ตั๋ว "เอเธนส์เกมส์" ส่วน "น้องเก๋" ซึ่งประสบอาการบาดเจ็บต้องตกเครื่องในเที่ยวสุดท้าย ซึ่งในเวลาต่อมา "น้องอร" กลายเป็นฮีโร่นักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์มาครอง พร้อมกับวลี "สู้โว้ย" ที่ดังไปทั่วประเทศ ความเศร้าเสียใจเปรียบเสมือนฝันร้ายในครั้งนั้น "น้องเก๋" เกือบจะอำลาทีมชาติ ด้วยฉายา "จอมพลังขี้แย" หลังจากความโศกเศร้า ความเสียใจผ่านพ้นไป "น้องเก๋" เปลี่ยนชื่อและนามสกุลใหม่จาก "จันทร์พิมพ์ กันทะเตียน" มาเป็น "ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล" เช่นเดียวกับครอบครัวก็เปลี่ยนนามสกุลมาใช้ "เจริญรัตนธารากูล" เช่นเดียวกัน "จันทร์พิมพ์" คนเดิม ทิ้งไว้เบื้องหลัง "ประภาวดี" กำลังจะก้าวต่อไป ...

"ตอนนั้นเหมือนโลกมืดไปหมด เก๋แทบเสียคน ทุกอย่างเสียศูนย์ไปหมด ถึงขั้นตัดสินใจเลยว่าจะเลิกเล่น แต่เก๋นึกถึงพ่อแม่ ทำให้รู้ว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องทำ" จอมพลังสาว กล่าว เพียงแต่เมฆหมอกแห่งความโชคร้ายยังไม่หมดแค่นั้น ในศึกยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก ที่ จังหวัดเชียงใหม่ เดือนกันยายน เมื่อปี 2550 ประภาวดี โชคร้ายอีกครั้ง ในการแข่งขันรุ่น 53 กิโลกรัม ที่เธอมีโอกาสได้เหรียญทอง แต่กลับประสบอุบัติเหตุ "ข้อศอกขวาหลุด" ในการยกท่าสแนทช์ เธอทิ้งเหล็กลงอย่างเจ็บปวด ชวดทุกเหรียญยังไม่พอ "น้องเก๋" ต้องรักษาตัว 3 เดือน พลาดติดทีมชาติลงแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่ จังหวัดนครราชสีมา ในปลายปีเดียวกัน

1 เหรียญทองแดง ยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก (ชายครั้งที่ 73 หญิงครั้งที่ 16) ที่ ประเทศแคนาดา ปี 2546 - 1 เหรียญทอง กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ที่ประเทศเวียดนาม ปี 2546 - 3 เหรียญทอง ยกน้ำหนักเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย (ชายครั้งที่ 17 หญิงครั้งที่ 9 ) ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2547 - 3 เหรียญทอง ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปี 2548 - 1 เหรียญทอง ยกน้ำหนักชิงแชมป์โลกที่กาตาร์ ปี 2549 - 3 เหรียญทอง ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศมหาวิทยาลัยโลก ที่เมืองอิซเมียร์ ประเทศตุรกี ปี 2549 - 1 เหรียญเงิน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ปี 2549 - 1 เหรียญทอง ยกน้ำหนักชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศจีน ปี 2550 - นักกีฬาเยาวชนสมัครเล่นหญิงดีเด่น ในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2546 จากการกีฬาแห่งประเทศไทย


วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Poivron



Le poivron, — nom botanique Capsicum annuum — est une plante annuelle de la famille des Solanacées originaire d'Amérique du Sud et centrale, cultivée comme plante potagère pour ses fruits consommés, crus ou cuits, comme légumes. Le terme désigne aussi ce légume de couleurs vives, vert, rouge, jaune.

En fait, cette espèce comporte de nombreuses variétés, soit douces, les poivrons, soit piquantes, les piments. Certaines sont même cultivées pour l'aspect décoratif de leurs fruits, comme plantes d'ornement, les piments d'ornement.

Le poivron est l'ingrédient indispensable d'un certain nombre de plats, dont la ratatouille et la pipérade.




Description

Plante annuelle en climat tempéré car elle ne résiste pas au gel, mais pouvant vivre plusieurs années en climat tropical. Port dressé, presque arbustif, très ramifié. Les tiges de la base ont tendance à se lignifier. La plante atteint de 40 à 50 cm de haut en général. Les feuilles, alternes, lancéolées, se terminant en pointe, sont d'un vert brillant. Les fleurs, nombreuses et petites, sont blanches, à pétales soudés et pointus, au nombre de 6 à 8. Le fruit est une baie d'un type particulier, la pulpe, relativement mince et formant une espèce de capsule entourant un placenta plus ou moins volumineux portant de nombreuses graines. Extérieurement la peau est lisse et brillante, de couleur vert brillant avant maturité, elle prend à maturité une couleur vive, en général rouge, mais aussi jaune, orangé, violet, marron, noir... Les graines sont petites, plates, réniformes, de couleur crème.
Les poivrons se distinguent des piments par des fruits plus gros et plus charnus, et surtout dépourvus de substance piquante (la
capsaïcine).
Distribution

Cette plante n'est connue qu'à l'état cultivé. Elle est très vraisemblablement originaire d'Amérique du Sud et a été probablement domestiquée au Mexique. On a retrouvé des graines vieilles de 5000 ans lors de fouilles archéologiques au Mexique.
Elle est cultivée dans le monde entier, depuis qu'elle a été introduite dans l'ancien monde à la fin du
XVe siècle. Elle s'est répandue très facilement surtout sous la forme piquante, le piment. Le poivron semble s'être répandu plus tard, à la fin du XVIIIe siècle en France et en Europe et au Canada.