วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ระบบนิเวศ



ระบบนิเวศป่าชายเลนของประเทศไทย และทิศทางการจัดการ





ระบบนิเวศป่าชายเลน (Mangrove ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ (Ecotone) ระหว่างผืนแผ่นดินกับพื้นน้ำทะเลในเขตร้อน (Tropical) และกึ่งร้อน (Subtropical) ของโลกซึ่งมีป่าชายเลนขึ้นอยู่เป็นระบบที่นำเอาทรัพยากรน้ำ ดิน และแร่ธาตุอาหารต่างๆ จากบกและทะเลมาปรุงแต่งให้เป็นแหล่งทรัพยาการที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าสูง ขณะเดียวกันตัวเองจะทำหน้าที่เป็นป้อมปราการที่คอยปกป้องและรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ของมวลมนุษยชาติอย่างยั่งยืน

ป่าชายเลน (Mangrove forest, Tidal forest or Intertidial forest) หมายถึง กลุ่มสังคมพืชขึ้นอยู่ในบริเวณน้ำทะเลปกติท่วมสูงสุด พบเป็นส่วนมากในบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว พืชที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนจะมีสรีระที่คล้ายคลึงกันเป็นพืชที่ไม่ผลัดใบทั้งหมดในฤดูเดียวกัน พบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน (Tropical region) และกึ่งร้อน (Subtropical) บ้างเล็กน้อย


ปัจจัยสิ่งเเวดล้อมที่สำคัญ



Walh (1974) และ Chapman (1975) รายงานว่ามีปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญต่อการกำเนิดป่าชายเลนทั่วโลก 7 ประการคือ 1. อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในบริเวณที่มีป่าชายเลนในเดือนที่อุณหภูมิต่ำที่สุดจะไม่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตกึ่งร้อน (Subtropical) ซึ่งมีอากาศที่หนาวเช่นนั้นจะมีป่าชายเลนขึ้นอยู่น้อยนิด และขนาดของต้นไม้จะเล็กกว่าป่าชายเลนที่อยู่ในเขตร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส พันธุ์ไม้ชนิดที่สำคัญที่พบอยู่ในเขตอากาศค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว ได้แก่ รังกระแท้ (Kandelia candel) พบมากในประเทศญี่ปุ่น แสมทะเล (Avicennia marina) พบในประเทศนิวซีแลนด์ และแสม (Avicennia germinans) พบในมลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
2. ดิน (Soil) แม้ว่าป่าชายเลนจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ที่เป็นทราย พีท (Peat) และปะการังก็ตาม แต่โดยส่วนใหญ่แล้วป่าชายเลนจขึ้นอยู่กับในที่ที่เป็นดินเลน ซึ่งพบทั่วไปในบริเวณที่มีตะกอนทับถมตามชายฝั่ง (Detaic coasts) ทะเลใน (Lagoons) และชายฝั่งตามปากแม่น้ำ (Estuarine shorelines) ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นก็ยังช่วยให้เกิดการทับถมของตะกอนโดยรวดเร็วมากขึ้น (Steer, 1977)
3. การได้รับการป้องกัน (Protection) บริเวณอ่าวทะเลใน ปากแม่น้ำ และชายฝั่งทั่วไป ที่อยู่หลังบริเวณที่มีเกาะหรือที่ตื้นแคบๆ (Spit) ที่อยู่ตามชายฝั่งจะทำให้มีป่าชายเลนขึ้นอยู่หนาแน่นและมีการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติที่ดี ทั้งนี้ก็เนื่องจากได้มีส่วนลดความรุนแรงของคลื่นที่จะทำลายกล้าไม้ป่าชายเลน ในประเทศไทยจึงมีป่าชายเลนอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเลตะวันตก 930,650.25 ไร่ ในปี พ.ศ.2539 หรือประมาณ 64.35 % ของป่าชายเลนที่เคยมีอยู่ในปีพ.ศ. 2504 (ธงชัย, 2539) ส่วนใหญ่อยู่ตามชายฝั่งทะเลและริมลำคลองทั่วไป ยังคงเหลือเป็นผืนใหญ่อยู่บ้างในบริเวณอ่าวปากพนัง บริเวณแหลมตะลุมพุกและอ่าวปัตตานีมีสันทรายคอยกั้นคลื่นลม จะมีการทับถมของตะกอนมากทำให้ลดความรุนแรงของคลื่นลม และมีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นทุกปี 4. ความเค็มของน้ำทะเล (Salinity) จากการทดลองพบว่าการที่พืชในป่าชายเลนจะเจริญเติบโตได้จะต้องอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีความเค็มที่เหมาะสม Chapman (1977) พบว่า โกงกาง (Rhizophora) เป็นพืชที่ผูกพันกับความเค็มมาก การเจริญเติบโตจะลดลงเมื่อขาดเกลือ และ Vu-van-Cuong (1964) รายงานไว้ว่า โปรงแดง (Ceriops tagal) และแสมดำ (Avicennia officinalis) จะไม่เจริญเติบโตในที่ซึ่งขาดเกลือ ดังนั้นปริมาณเกลือจึงมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไม้ป่าชายเลน ถ้ามีเกลือน้อยจะทำให้การเจริญเติบโตช้า ไม่สามารถแก่งแย่งการเจริญเติบโตกับพืชอื่น นอกเสียจากจะได้กำจัดพืชนั้นและทำให้ลดลงโดยเพิ่มปริมาณเกลือลง 5. น้ำขึ้นน้ำลง (Tidal range) ช่วงน้ำขึ้นน้ำลงจะมากน้อยขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ในภูมิประเทศนั้นด้วย ถ้าเป็นบริเวณที่มีความลาดชันต่ำมีน้ำท่วมมากจะทำให้พื้นที่ป่าชายเลนมากด้วย ตรงข้ามพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ป่าชายเลนจะเป็นแนวแคบ จากลักษณะความแตกต่างกันในภูมิประเทศเช่นนี้ จะทำให้พื้นที่ป่าชายเลนมากบ้างน้อยบ้างตามสภาพภูมิประเทศในบริเวณชายฝั่งทางด้านอ่าวไทยและอันดามันทั่วไป
6. กระแสน้ำในมหาสมุทร (Ocean currents) ในฤดูกาลแตกต่างกันการไหลของกระแสน้ำย่อมแตกต่างกันไปด้วย กระแสน้ำจะมีส่วนช่วยในการขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลน โดยนำเอาฝังโกงกางหรือเมล็ดแสม (Propagules) ลอยกระจายไปตามชายฝั่ง Chapman (1975) พบว่าป่าชายเลนถูกกำจัดอยู่ในบริเวณฝั่งตะวันตกของแอฟริกาตอนใต้ในบริเวณขอบเขตระหว่างกระแสน้ำเย็นทางตอนใต้และกระแสน้ำอุ่นที่ไหลไปจากตอนบนและปรากฎการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียและอเมริกาใต้ 7. ชายฝั่งทะเลตื้น (Shallow shores) Chapman (1975) อธิบายว่าการที่ป่าชายเลนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีน้ำลึกก็เนื่องมาจากไม่สามารถยึดเหนี่ยวดินในบริเวณน้ำลึกได้ ดั้งนั้น ยิ่งมีพื้นที่น้ำตื้นมากขึ้นเท่าใดก็จะทำให้พื้นที่ป่าชายเลนขยายมากขึ้นเท่านั้นด้วย ในเรื่องนี้เหตุผลที่แท้จริงแล้วในพื้นที่ลึกซึ่งป่าชายเลนไม่สามารถขยายออกไปได้นั้น ก็เนื่องมาจากการที่ดินเลนในบริเวณนั้นยังไม่พัฒนาอยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่จะให้พรรณไม้เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นได้ การปลูกและใช้หลักปักยึดเหนี่ยวต้นกล้าที่ปลูกไม่ให้ล้มในพื้นที่ดินเลนงอกใหม่หลายพื้นที่ต้องประสบกับความล้มเหลว นอกจากดินเลนอ่อนจนรากไม่อาจยึดพื้นดินได้แล้วยังมีเพรียง (Banacle sp.) เกาะลำต้นกล้าไม้ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ทำให้ตายไปในที่สุด การปลูกป่าชายเลนหรือช่วยการสืบพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติ จึงควรมีการศึกษาวิเคราะห์โดยละเอียดก่อนดำเนินการ

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

คอเลสเทอรอลคืออะไร??

คอเลสเทอรอลคืออะไร??


คอเลสเทอรอล คือสารไขมันที่อยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย บางชนิดจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายตับของคนเราสามารถผลิตคอเลสเทอรอลปริมาณ 300 มิลลิกรัม/วันแต่หากมีปริมาณมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายได้ถ้าระดับคอเลสเทอรอลสูงเกินไปจะเพิ่มอัตราการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพราะถ้าเปรียบเทียบเส้นเลือดต่างๆของร่างกายเหมือนท่อประปาภาวะไขมันสูงก็เหมือนภาวะที่มีตะกอนในน้ำมากและทำให้เกิดการตกตะกอนในท่อน้ำนำมาซึ่งถึงการตีบตันลง ดังนั้นภาวะไขมันในเลือดสูงจึงจัดเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เส้นเลือดต่างๆในร่างกายตีบตันจากภาวะหลอดเลือดแข็งประเภทของไขมันในเลือด มี3 ชนิด1) LDL (low densitylipoprotein)LDL Cholesterol ซึ่งรู้จักกันดีในนามของ"ตัวผู้ร้าย" LDL-C ถ้ามีมากจะสะสมในหลอดเลือดแดงได้มาจากการสังเคราะห์ที่ตับและจากการบริโภคอาหารที่มี คอเลสเทอรอลสูงยิ่งระดับ LDL-C สูงเท่าไหร่อัตราการเป็นโรคหัวใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น2) HDL (high densitylipoprotein)HDL Cholesterol ซึ่งรู้จักในนามของ "The best cholesterol" เปรียบเสมือนตำรวจที่คอยตรวจจับผู้ร้ายเพราะเชื่อกนว่ามันเป็นตัวกำจัดคอเลสเทอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับ และเปลี่ยนเป็นพลังงานดังนั้นการมีระดับ HDL-C ในเลือดสูงจะลดอัตราเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจตีบตัน หัวใจแข็งตัวได้3)TG(Triglyceride)เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งในกระแสเลือดเปรียบเสมือน "ผู้ช่วยตัวร้าย" ได้มาจากไขมันที่มาจากทั้งพืชและสัตว์เพราะฉนั้นทุกครั้งที่รับประทานอาหารที่มีไขมันคือการรับประทานไตรกลีเซอร์ไรด์นั่นเอง TG มีประโยชน์ในการช่วยดูดซึมวิตามิน A D E K แต่ถ้ามีระดับ TG ในเลือดสูงเกินไปพร้อมกับระดับLDL-C สูงด้วยจะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและทำให้ตับอ่อนอักเสบสาเหตุของระดับ คอเลสเทอรอลสูงได้แก่พฤติกรรมการบริโภค ขาดการออกกำลังกาย และกรรมพันธุ์ โรคบางอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือว่าเป็น "ฆาตรกรเงียบ" เพราะมักไม่แสดงอาการกับผู้ป่วยแต่อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือเป็นลมเสียชีวิตได้ทันทีการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับคอเลสเทอรอล-ระวังเรื่องอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันสัตว์ นม เนย ไข่เครื่องใน/สมองสัตว์ หอยนางรม กุ้ง- ควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วนเกินพิกัด- บริหารร่างกายตามความเหมาะสมเป็นประจำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที โดย วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค- งดสูบบุหรี่- หลีกเลี่ยงการดื่มเบียร์และแอลกอออล์ขอให้เพื่อนๆไปตรวจเลือดเป็นประจำ ควรจะอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อจะได้ดูแลรักษาพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้นนะคะ

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551


น้ำส้ม
การเตรียมน้ำส้ม
น้ำส้มคั้น
การเตรียมน้ำส้มนั้น ปกติแล้วน้ำส้มคั้นจะใช้
ส้มเขียวหวานผลใหญ่ เพราะส้มเขียวหวานผลใหญ่จะให้น้ำส้มที่มีรสชาติหวาน สามารถคั้นเอาน้ำรับประทานได้ทันที หรือจะเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้ เมื่อเตรียมเสร็จแล้วเทใส่แก้วพร้อมเสิร์ฟ (ปกติแล้วแก้วที่ใส่จะเป็นแก้วเปล่าไม่ใส่น้ำแข็งเพราะน้ำส้มจะมีรสหวานอ่อนๆ ถ้าเติมน้ำแข็งลงไปอีกจะทำให้น้ำส้มจืดเสียรสชาติ)
น้ำส้มปั่น
ส้มที่ใช้ในการทำน้ำส้มปั่นจะใช้ส้มเขียวหวานผลเล็ก (หรือที่ภาษาตลาดเรียกว่าส้มคั้นน้ำ) ส้มดังกล่าวจะให้น้ำส้มที่มีรสออกเปรี้ยว สาเหตุที่ใช้ส้มเปรี้ยวในการปั่นเพราะถ้าใช้น้ำส้มที่มีรสหวานอ่อนๆ จากธรรมชาติมาปั่นรวมกับน้ำแข็งจะทำให้ได้น้ำส้มที่มีรสจืดตามที่ได้บอกไว้ในข้างต้น น้ำส้มปั่นสามารถทำได้โดยคั้นน้ำส้มจนได้ปริมาณตามต้องการ จากนั้นเทใส่เครื่องปั่นที่ใส่น้ำแข็งไว้ จากนั้นเติมน้ำเชื่อมกับเกลือ แล้วปั่นประมาณ 30 วินาทีจะได้น้ำส้มปั่นตามต้องการ
ปกติในร้านอาหารหรือภัตตาคารมักจะเสิร์ฟน้ำส้มคั้นโดยเทใส่แก้วใสพร้อมกับมีชิ้นส้มหั่นแว่น 1 แว่นเหน็บอยู่ที่ปากแก้ว